วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อมูล IEEE 802.3 Bus topology

IEEE 802.3 Bus topology

มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่า “มีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ” ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps และใช้สายส่งชนิดต่างๆดังนี้


10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบ BNC ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว Tการทำงาน ตัวรับส่งสัญญาณจะอยู่บนอินเตอร์เฟสบอร์ดของแต่ละโหนด ใช้รับส่งสัญญาณที่โหนดของตนเองซึ่งต่างกับ 10Base5ที่อาจมีการใช้ตัวรับส่งสัญญาณร่วมกันระหว่างหลายสถาน10Base5 หรือ Thick Ethernet เป็นสายสีเหลืองและมีเครื่องหมายกาทุก 2.5 เมตร แสดงจุดที่จะเจาะเพื่อเกาะTransciever (ตัวรับส่งสัญญาณของแลนการ์ด)การทำงาน ทรานซีฟเวอร์หรือตัวรับส่งสัญญาณจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจสอบสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสาย หากตรวจพบว่ามีการชนกันของสัญญาณในสาย ตัวรับส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณพิเศษลงในสายเพื่อให้ตัวรับส่งสัญญาณรู้ด้วยว่ามีการชนกันของสัญญาณ สายของตัวรับส่งสัญญาณซึ่งยาวได้ถึง 50 เมตร จะเป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลตลอดจนสัญญาณควบคุมส่งไปมาระหว่างตัวส่งสัญญาณกับอินเตอร์เฟสบอร์ด สำหรับอินเตอร์เฟสบอร์ดจะมีชิปควบคุมซึ่งจะรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องของเฟรม พร้อมกับคำนวณผลรวมตรวจสอบแล้วส่งออกไป ส่วนการรับข้อมูล ชิปจะตรวจหาขอบเขตของเฟรมและคำนวณผลรวมตรวจสอบเพื่อตรวจความถูกต้องของข้อมูล อินเตอร์เฟต สบอร์ดบางตัวจะมับัฟเฟอร์สำหรับเก็บเฟรมข้อมูลเข้าออก และอาจมี DMA ( Direct Memory Access)ในการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างบอร์ดกับคอมพิวเตอร์ สายทั้งสอง มีปัญหาที่สำคัญคือ หากสายเคเบิลขาดหรือหัวต่อหลวมจะทำให้สัญญาณไฟฟ้าภายในสะท้อนอยู่ในสาย ทำให้การทำงานของระบบเสียหาย เราสามารถตรวจสอบคุณภาพของาสายได้โดยการส่งสัญญาณออกไปแล้ววัดระยะเวลาที่ส่งไปกับสะท้อนกลับมาถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าสายนั้นเสียหายแล้ว จึงมีการคิดค้นสายแบบใหม่คือ10Base-T ใช้สายคู่ตีเกลียวแบบเดียวกับสายโทรศัพท์ สายจากโหนดจะต่อเข้ากับ Hub ทำให้สามารถเพิ่มหรือลดโหนดในขณะทำงานอยู่ได้ หากสายขาดก็สามารถตรวจหาได้ง่าย ปกติจะส่งข้อมูลผ่านสายยาวถึงฮับได้ 100 เมตร แต่หากใช้สายคู่ตีเกลียวแบบ category 5 ส่งได้ถึง 150 เมตร 10Base-F ใช้เส้นใยแก้วนำแสงจึงทำให้ราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะหัวต่อและตัวหยุดสัญญาณ(Terminator) Terminator ใช้ติดที่ปลายสายเคเบิลเพื่อดูดสัญญาณไม่ให้ออกไปกระทบกับอากาศเพราะจะเกิดการสะท้อนกลับมารบกวนสัญญาณที่ส่งอยู่ ทนทานต่อคลื่นรบกวน ใช้เป็นแบ็กโบนเชื่อมระหว่างตึกหรือระหว่างฮับที่อยู่ห่างกัน ในกรณีที่ต้องการจะต่อแลนให้กว้างออกไปอีก สัญญาณที่ส่งจะเพี้ยนหรือเบาลงเนื่องจากระยะทางที่ไกลจึงต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ตัวทวนสัญญาณ (repeater)ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณที่ส่งมาแล้วทำการสร้างสัญญาณเดิมขึ้นมาใหม่แล้วทำการส่งต่อไป แต่เครื่อง 2 เครื่องต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 2.5 กิโลเมตร มีรีพีทเตอร์ไม่เกิน 4 ตัว ในเส้นทางเดียวกัน
การเข้ารหัสสัญญาณไฟฟ้าของแลน 802.3
เพื่อให้ฝั่งรับสามารถรับข้อมูล 1 หรือ 0 ได้ถูกต้องโดยไม่ต้องใช้สัญญาณจังหวะนาฬิกาจากภายนอกเข้ามาช่วย แลนแบบ 802.3 ใช้วิธีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ แมนเชสเตอร์ (Manchester Encoding) วิธีนี้ช่วงเวลาของแต่ละบิตถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเท่าๆกัน ในการแทนค่า 1 นั้นระดับไฟฟ้าของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงจากสูงมาต่ำ และการแทนค่า 0 ระดับไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากต่ำไปสูง ระดับไฟฟ้าสูงมีค่า 0.85 โวลต์ และระดับไฟฟ้าต่ำมีค่า –0.85 โวลต์ เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าระดับไฟฟ้าที่ตรงกลางของแต่ละบิต จึงทำให้ฝั่งรับสามารถทำงานสอดคล้องกับฝั่งส่งได้โดยง่าย
และยังมีการเข้ารหัสแบบดิฟเฟอเรนเชียลแมนเชสเตอร์(Differential ManchesterEncoding) ซึ่งมีการเปลี่ยนเฟสของสัญญาณทุกครั้งเมื่อบิตข้อมูลมีค่าเป็น 0 ส่งผลให้สัญญาณข้อมูลทนต่อคลื่นรบกวนได้มากว่าเดิม แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากกว่า

URL
http://www.geocities.com/seeis_224/Internet12.htm

ไม่มีความคิดเห็น: