วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ 7 ข้อ Ethernet

ข้อสอบ 7 ข้อ Ethernet

1. องค์กรที่พัฒนามาตรฐานสากลในเรื่องของการสื่อสารข้อมูล คือ ?
ก. ISO
ข. OSI
ค. EIA
ง. IEEE
ตอบ ง. IEEE IEEE เป็นองค์กรที่ได้สร้างมาตรฐานสากลหลากหลายมาตรฐาน ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และ IEEE ได้กำหนดมาตรฐาน IEEE 802 สำหรับ LAN ซึ่งมาตรฐานนี้ จะอธิบายถึง LAN แบบ CSMA/CD, Token Bus และ Token Ring ซึ่งเป็น LAN ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

2.การ Interface ของระดับชั้น LLC จะให้บริการแก่ระดับชั้น Network Layer มีกี่รูปแบบ ?
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ข. 3.รูปแบบ คือ การ Interface ของระดับชั้น LLC จะให้บริการแก่ระดับชั้น Network Layer 3 รูปแบบคือ
1) การบริการแบบดาต้าแกรมที่ไม่ประกันข่าวสาร (unreliable datagram service)
2) การบริการแบบดาต้าแกรมที่มีเฟรมตอบรับ (acknowledged datagram service)
3) การบริการการสื่อสารที่รับประกันข่าวสาร (Connection-oriented service)

3. IEEE ย่อมาจากอะไร ?
ก. Institute of Electrical and Electronics Engineers
ข. Institute of Electrical Electronics Engineers
ค. ข้อ ก และ ข ถูก
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ ก. Institute of Electrical and Electronics Engineers
IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นองค์กรที่ได้สร้างมาตรฐานสากลหลากหลายมาตรฐาน

4.โครงสร้างของเฟรมของ LAN 802.3 แบ่งเป็นกี่ส่วน ?
ก. 2 ส่วน
ข. 4 ส่วน
ค. 6 ส่วน
ง. 8 ส่วน
ตอบ ง. 8 ส่วนได้แก่
1) Preamble 2) Start of frame
3) Destination address 4) Source address
5) Length of data field 6) Data

7) Pad 8) Checksum
5. Data คือส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บได้ตั้งแต่กี่ไบต์ถึงกี่ไบต์ ?
ก. 0 ถึง 1000 ไบต์
ข. 0 ถึง 1500 ไบต์
ค. 0 ถึง 2000 ไบต์
ง. ไม่มีข้อที่ถูกต้อง
ตอบ ข. Data คือส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บได้ตั้งแต่ 0 ถึง 1500 ไบต์

6. มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัทอะไร ?
ก. บริษัท Xerox
ข. บริษัท IBM
ค. บริษัท Microsoft
ง. ข้อ ก.และ ค. ถูก
ตอบ ก. มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่า “มีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ” ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps และใช้สายส่งชนิดต่างๆ

7. 10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบใด ?
ก. รูปตัว U
ข. รูปตัว Y
ค. รูปตัว T
ง. รูปตัว X
ตอบ ค. 10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบ BNC ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว T

URL
http://www.geocities.com/seeis_224/Internet12.htm

ข้อมูล IEEE 802.3 Bus topology

IEEE 802.3 Bus topology

มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่า “มีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ” ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps และใช้สายส่งชนิดต่างๆดังนี้


10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบ BNC ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว Tการทำงาน ตัวรับส่งสัญญาณจะอยู่บนอินเตอร์เฟสบอร์ดของแต่ละโหนด ใช้รับส่งสัญญาณที่โหนดของตนเองซึ่งต่างกับ 10Base5ที่อาจมีการใช้ตัวรับส่งสัญญาณร่วมกันระหว่างหลายสถาน10Base5 หรือ Thick Ethernet เป็นสายสีเหลืองและมีเครื่องหมายกาทุก 2.5 เมตร แสดงจุดที่จะเจาะเพื่อเกาะTransciever (ตัวรับส่งสัญญาณของแลนการ์ด)การทำงาน ทรานซีฟเวอร์หรือตัวรับส่งสัญญาณจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจสอบสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสาย หากตรวจพบว่ามีการชนกันของสัญญาณในสาย ตัวรับส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณพิเศษลงในสายเพื่อให้ตัวรับส่งสัญญาณรู้ด้วยว่ามีการชนกันของสัญญาณ สายของตัวรับส่งสัญญาณซึ่งยาวได้ถึง 50 เมตร จะเป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลตลอดจนสัญญาณควบคุมส่งไปมาระหว่างตัวส่งสัญญาณกับอินเตอร์เฟสบอร์ด สำหรับอินเตอร์เฟสบอร์ดจะมีชิปควบคุมซึ่งจะรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องของเฟรม พร้อมกับคำนวณผลรวมตรวจสอบแล้วส่งออกไป ส่วนการรับข้อมูล ชิปจะตรวจหาขอบเขตของเฟรมและคำนวณผลรวมตรวจสอบเพื่อตรวจความถูกต้องของข้อมูล อินเตอร์เฟต สบอร์ดบางตัวจะมับัฟเฟอร์สำหรับเก็บเฟรมข้อมูลเข้าออก และอาจมี DMA ( Direct Memory Access)ในการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างบอร์ดกับคอมพิวเตอร์ สายทั้งสอง มีปัญหาที่สำคัญคือ หากสายเคเบิลขาดหรือหัวต่อหลวมจะทำให้สัญญาณไฟฟ้าภายในสะท้อนอยู่ในสาย ทำให้การทำงานของระบบเสียหาย เราสามารถตรวจสอบคุณภาพของาสายได้โดยการส่งสัญญาณออกไปแล้ววัดระยะเวลาที่ส่งไปกับสะท้อนกลับมาถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าสายนั้นเสียหายแล้ว จึงมีการคิดค้นสายแบบใหม่คือ10Base-T ใช้สายคู่ตีเกลียวแบบเดียวกับสายโทรศัพท์ สายจากโหนดจะต่อเข้ากับ Hub ทำให้สามารถเพิ่มหรือลดโหนดในขณะทำงานอยู่ได้ หากสายขาดก็สามารถตรวจหาได้ง่าย ปกติจะส่งข้อมูลผ่านสายยาวถึงฮับได้ 100 เมตร แต่หากใช้สายคู่ตีเกลียวแบบ category 5 ส่งได้ถึง 150 เมตร 10Base-F ใช้เส้นใยแก้วนำแสงจึงทำให้ราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะหัวต่อและตัวหยุดสัญญาณ(Terminator) Terminator ใช้ติดที่ปลายสายเคเบิลเพื่อดูดสัญญาณไม่ให้ออกไปกระทบกับอากาศเพราะจะเกิดการสะท้อนกลับมารบกวนสัญญาณที่ส่งอยู่ ทนทานต่อคลื่นรบกวน ใช้เป็นแบ็กโบนเชื่อมระหว่างตึกหรือระหว่างฮับที่อยู่ห่างกัน ในกรณีที่ต้องการจะต่อแลนให้กว้างออกไปอีก สัญญาณที่ส่งจะเพี้ยนหรือเบาลงเนื่องจากระยะทางที่ไกลจึงต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ตัวทวนสัญญาณ (repeater)ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณที่ส่งมาแล้วทำการสร้างสัญญาณเดิมขึ้นมาใหม่แล้วทำการส่งต่อไป แต่เครื่อง 2 เครื่องต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 2.5 กิโลเมตร มีรีพีทเตอร์ไม่เกิน 4 ตัว ในเส้นทางเดียวกัน
การเข้ารหัสสัญญาณไฟฟ้าของแลน 802.3
เพื่อให้ฝั่งรับสามารถรับข้อมูล 1 หรือ 0 ได้ถูกต้องโดยไม่ต้องใช้สัญญาณจังหวะนาฬิกาจากภายนอกเข้ามาช่วย แลนแบบ 802.3 ใช้วิธีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ แมนเชสเตอร์ (Manchester Encoding) วิธีนี้ช่วงเวลาของแต่ละบิตถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเท่าๆกัน ในการแทนค่า 1 นั้นระดับไฟฟ้าของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงจากสูงมาต่ำ และการแทนค่า 0 ระดับไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากต่ำไปสูง ระดับไฟฟ้าสูงมีค่า 0.85 โวลต์ และระดับไฟฟ้าต่ำมีค่า –0.85 โวลต์ เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าระดับไฟฟ้าที่ตรงกลางของแต่ละบิต จึงทำให้ฝั่งรับสามารถทำงานสอดคล้องกับฝั่งส่งได้โดยง่าย
และยังมีการเข้ารหัสแบบดิฟเฟอเรนเชียลแมนเชสเตอร์(Differential ManchesterEncoding) ซึ่งมีการเปลี่ยนเฟสของสัญญาณทุกครั้งเมื่อบิตข้อมูลมีค่าเป็น 0 ส่งผลให้สัญญาณข้อมูลทนต่อคลื่นรบกวนได้มากว่าเดิม แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากกว่า

URL
http://www.geocities.com/seeis_224/Internet12.htm

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ 5 เรื่อง Topology

ข้อสอบ 5 เรื่อง Topology

1 .ข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบกี่ทิศทาง ?
ก. 2 ทิศทาง
ข. 3 ทิศทาง
ค. 4 ทิศทาง
ง. 5 ทิศทาง

ตอบ ก. ข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น

ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

2. เครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง ?
ก. 1 ตัว
ข. 2 ตัว
ค. 3 ตัว
ง. 4 ตัว

ตอบ ก. เครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

3.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใด ?
ก. STAR , BUS
ข. BUS , RING
ค. STAR , BUS , RING
ง. STAR , MESH

ตอบ ค. โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

4. การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณ ?
ก. สัญญาณอินฟาเรด
ข. สัญญาณไมโครเวฟ
ค. สัญญาณนาฬิกา
ง. สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์

ตอบ ง. การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัส แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป

ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

5. ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminater) จะทำหน้าที่ ?
ก. กระจายสัญญาณ
ข. รับสัญญาณ
ค. ดูดกลืนสัญญาณ
ง. ผิดทุกข้อ

ตอบ ค. ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminater) จะทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อไม่ให้สะท้อนกลับ และจะถูกติดไว้ที่ปลายสัญญาณ การดูดกลืนสัญญาณนี้จะทำให้สัญญาณว่าง และพร้อมสำหรับการส่งข้อมูลอีกที่ปลายทั้งสองข้างของสายสัญญาณจะต้องเสียบเข้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เน็ตเวิร์คการ์ด หรือตัวเชื่อมต่อ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้มีระยะยาวขึ้น ปลายที่ไม่ได้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จะต้องติดตัวเทอร์มิเนเตอร์เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับของสัญญาณ

ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อมูลและข้อดีข้อเสียของ topologo bus ring star mesh

1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5



2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน


ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5


3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี
- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5


4.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

ข้อดี
- เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด

ข้อเสีย
- ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบ 10 ข้อ

ข้อสอบ 10 ข้อ

1. กระบวนการเพียร์ทูเพียร์โปรเซสคืออะไร?
ก. กระบวนการสื่อสารของโปรโตคอลตั้งแต่ลำดับชั้นดาต้าลิงก์ ขึ้นไป
ข. ดาต้าลิงก์
ค. ทรานสปอร์ต
ง. เน็ตเวิร์ก
ตอบ ก. กระบวนการสื่อสารของโปรโตคอลตั้งแต่ลำดับชั้นดาต้าลิงก์ ขึ้นไประหว่างต้นทางกับปลายทางจะ
เป็นกระบวนการสื่อสารที่เรียกว่า เพียร์ทูเพียร์โปรเซส

2. การกำหนดชั้นฟิสิคอลแอดเดรด อยู่ในลำดับชั้นใด
ก. ชั้นเน็ตเวิร์ก
ข. ชั้นทรานสปอร์ต
ค. ชั้นดาตาลิ้งก์
ง. ชั้นฟิสิคัล
ตอบ ค. เนื่องจากว่าเฟรมจะมีการส่งไปทั่วบนเครือข่ายจึงจำเป็นต้องรู้ว่าเฟรมนี้ถูกส่งมาจากที่ใดและให้ส่งไปที่ใดดังนั้นลำดับชั้นดาตาลิ้งก์จะมาบวกเฮดเดอร์

3. การแบ่งเครือข่ายตามระดับแบ่งได้เป็นกี่ระดับ
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
ตอบ ข. 2 ระดับคือ เครือข่ายที่เป็นแกนหลัก และเครือข่ายย่อย

4. เครือข่ายสวิตชิ่งแบ่งตามลักษณะของข้อมูลได้กี่แบบ
ก. 2
ข. 3
ค. 5
ง. 6

ตอบ ข. 3 แบบ 1. แบบเซอร์กิตสวิตช์
2. แบบแมสเสดสวิตช์
3. แบบเพ็กเก็ตสวิตช์
5. เครือข่ายการสื่อสารนั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?
ก. 2
ข. 3
ค. 4
ง. 5
ตอบ ก. 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครือข่ายแบบสวิตช์ชิ่งและเครือข่ายแบบปรอดแคสท์

6. การจัดรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายวีแซทมีกี่ลักษณะ
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
ตอบ ข. 2 ลักษณะ คือ การจัดรูปแบบดาวและการจัดรูปแบบตาข่าย

7.ประเภทของเครือข่ายในปัจจุบันอ้างถึงประเภทเครือข่ายพื้นฐานกี่ประเภท
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6
ตอบ ก. 3 คือ 1 เครือข่ายท้องถิ่น
2 เครือข่ายระดับเมือง
3 เครือข่ายระดับประเทศ


8. ปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นมีอยู่กี่ชนิด
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง.4
ตอบ ค. 3 คือ 1. โทโพโลยีแบบบัส
2. โทโพโลยีแบบดาว
3. โทโพโลยีแบบวงแหวน

9. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย( Topology ) มีกี่รูปแบบ
ก. 3
ข. 4
ค. 5
ง. 6
ตอบ ก. 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 1. การเชื่อมแบบบัส
2. การเชื่อมต่อแบบดาว
3. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

10. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อ
ก. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้น
ข. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ใน ลำดับชั้นเดียว
ค. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ทั้ง ทุกลำดับชั้น และ ลำดับชั้นเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ก. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้นบนแบบจำลอง OSI

คำศัพท์ระบบการสื่อสารข้อมูล

คำศัพท์ระบบการสื่อสารข้อมูล
1. Back bone ระบบโครงข่ายหลัก
2. Bace band ตัวกลางในการสื่อสาร
3. Braod band สื่อกลางประเภทสายเคเบิล
4. Dateway ประตูในการสื่อสาร
5. Hatf-dupiex เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลทั้งไปและกลับ
6. Jpeg วิธีการอัดเจเพ็ก
7. Mpeg ไฟล์ของภาพเคลื่อนไหว
8. Icp/Ip การเชื่อมต่อหลายเส้นทาง
9. Dsl ไม่สมดุลผ่านคู่ภาพสัญญาณเพียงคู่เดียว
10. Address ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตสำหรือที่อยู่ของE-mail
11. Browser โปรแกรมสำหรับใช่เล่น Internet
12. Client ไดล์เอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง
13. DNS การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรด
14. Dial up การติดต่อคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย
15. Domain กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย
16. E-mail จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ใช่สำหรับรับส่งข้อมูลทางเครือข่าย
17. Hub เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อภายในเครื่องไดล์เอินท์และเครื่องเซิร์ฟเวร์อเข้าด้วยกัน
18. FTP เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโปรโตคอลอินเทอร์เน็ตและ Tcp/IP
19. Extranet เป็นระบบเครือข่ายสำหรับผู้ใช่งานภายนอกระบบ
20. Intranet เป็นระบบเครือข่ายภายในบริษัทหรือองค์การที่ใช่ประโยชน์จากเครื่องมือบางอย่าง
21. Internet เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์เครือข่าย
22. Homepage เอกสารหน้าแรก หน้าแนะนำตัวของ www ของ web site ต่างๆ
23. Http เป็นโปรโตคอลที่ควบคุมการส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ
24. Gufst Book ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั่นๆที่คุณเข้า
25. Interhhot เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์เครือข่าย
26. IP Telephony เป็นระบบที่รวมเอาการติดต่อสื่งสารข้อมูลประเภทต่างๆ
27. Spam mail E-mail ที่ถูกส่งมายังผู้รับ
28. Search Engine เครื่องมือช่วยในการค้นหา web site ต่างๆ บน Internet เช่น web google
29. URL ungue resouree loca tor ชื่อของคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสาร
30. Wan wide area net work ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
31. Upload วิธีการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ