วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552

(FTTH : Fiber to the Home)

(FTTH : Fiber to the Home)


เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ นับว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับประเทศ วันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พสุ แก้วปลั่ง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จะพาท่านไปรู้จักกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่จะทำให้ท่านต้องตั้ง ตาคอยการมาถึงของมันเลยทีเดียว

“โดยส่วนตัวผมทำงานวิจัยเกี่ยวกับระบบ Fiberoptic คือระบบสื่อสารผ่านเส้นใยแสง สมัยเรียนปริญญาเอกก็จะเน้นไปที่ระบบทางไกล เช่น โยงใต้ทะเลเป็นหลายพันกิโลเมตร ว่าจะทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้ยังไง หรือถ้ากำหนดความเร็วแล้วจะทำให้มันไปได้ไกลขึ้นได้อย่างไร แต่พอเข้ามาเป็นอาจารย์ที่คณะวิศวฯ จุฬาฯ ก็ได้ศึกษาและทำการวิจัยในหลายๆ ระดับ ตั้งแต่โครงข่ายระดับ Fiber-optic ใหญ่เชื่อมโยงระหว่างเมืองจนถึงระดับ Access ซึ่งหนึ่งในโครงข่าย Fiber-optic ระดับ Access ที่ให้ความเร็วสูงสุดเท่าที่มีในปัจจุบันนั่นก็คือ Fiber to the Home (FTTH)”

  • เทคโนโลยีที่เรียกว่า Fiber to the Home นี้มีความสำคัญอย่างไร
  • “ปัจจุบันที่เราใช้โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือใช้อินเตอร์เน็ต ก็เป็นการใช้ผ่านระบบสื่อสาร แต่ระบบของแต่ละอันก็แยกจากกัน ซึ่งข้อมูลแต่ละระบบก็มีความแตกต่างกัน แต่ในอนาคตเราจะพยายามโยงทุกระบบให้มาอยู่ในลักษณะข้อมูลเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ หรืออินเตอร์เน็ต จะมาอยู่ในรูปแบบข้อมูลของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด ตัวอย่างที่เราคุ้นเคยกัน เช่น Voice over IP IPTV และโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 (Mobile IP) เป็นต้น”

    “นอกจากบริการที่เราเห็นกันทั่วไปแล้ว ในอนาคตเราพยายามจะทำให้ระบบทุกอย่าง เครื่องมือทุกอย่าง อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถสื่อสารข้อมูลได้ด้วยตัวมันเอง เช่น บ้านเราอาจจะติดเซนเซอร์ตามที่ต่างๆ เช่น ที่ขอบประตู เก้าอี้ ตู้เย็น ฯลฯ ก็จะสามารถสื่อสารข้อมูลได้ เช่นเราอยู่นอกบ้านเราสามารถดูผ่านมือถือได้ว่าหน้าต่างบานนั้นล๊อคหรือยัง สามารถตรวจสอบได้หมด นั่นคือจากบ้านเราสามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วส่งข้อมูลมา เข้ามือถือเรา หรือสั่งอัดวีดีโอผ่านมือถือได้ หรือเช็คของในตู้เย็นได้เช่น นมหรือไข่หมดหรือยังเป็นต้น”

    “เมื่อทุกอย่างสามารถสื่อสารข้อมูลได้ โครงข่ายหรือระบบสื่อสารที่ใช้ต้องรับข้อมูลปริมาณมหาศาล อย่างปัจจุบันแค่อินเตอร์เน็ตอย่างเดียวเรายังรู้สึกว่าระบบช้า ถ้าเกิดทุกอย่างสื่อสารหมดแม้แต่ประตูหน้าต่างก็สามารถส่งข้อมูลได้ก็จะยิ่ง มีปริมาณข้อมูลมหาศาล โครงข่ายที่ใช้ต้องรองรับข้อมูลปริมาณมากเหล่านั้นได้ ซึ่งระบบที่จะสามารถรองรับได้ก็คงต้องเป็นระบบเส้นใยแสงหรือ Fiber-optic ซึ่งปัจจุบันก็นำมาใช้กันแล้วอย่างโครงข่ายใต้ทะเล รวมทั้งโครงข่ายในเมืองก็เป็น Fiber-optic ดังนั้นในการที่จะให้ข้อมูลสื่อสารออกจากบ้านได้ทุกคน และมีความเร็วสูงตามที่ต้องการ ต้องมีตัวกลางที่สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว ดังนั้นจึงพยายามโยงเส้นใยแสงให้มาใกล้บ้านมากที่สุด ซึ่งเป็นที่มาของ Fiber to the Home นั่นเอง”

    การศึกษาขั้นบุกเบิกของระบบ FTTH ในบริเวณกรุงเทพมหานคร (CAT)

  • Fiber to the Home คืออะไรและมีประสิทธิภาพมากเพียงไร
  • “Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา ได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”

  • ในปัจจุบันเริ่มมีผู้หันมาใช้ระบบนี้กันมากขึ้น ซึ่งผู้ใช้รายใหญ่คือประเทศญี่ปุ่น
  • “ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำระบบนี้มา ใช้มากที่สุด คือเริ่มนำ Fiber to the Home มาทำเป็นระบบเชิงพาณิชย์ประมาณปี 2001 หรือ 2002 ปัจจุบันมีเกือบ 10 ล้านครัวเรือนที่ใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ และราคาถ้าเทียบกับ ADSL ก็น่าจะแพงกว่าประมาณ 30% แต่ถ้าเทียบกับความเร็วที่ได้จะต่างกันเยอะมาก ส่วนอเมริกานั้นเนื่องจากนิยมใช้เคเบิลทีวีกันแพร่หลาย ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลอินเตอร์เน็ตจะผ่านระบบเคเบิลทีวี ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ส่วนเกาหลี จีน ก็เริ่มนำมาใช้กันมากขึ้น”

  • สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการริเริ่มระบบนี้กันบ้างแล้ว แต่ไม่เป็นการแพร่หลายมากนัก
  • “สำหรับประเทศไทยปัจจุบันนี้ยังไม่บูมมาก จุดแรกของประเทศไทย ดำเนินการโดยบริษัท Fiber to the Home ซึ่งเช่าสายเส้นใยแสงจากจากไฟฟ้า ให้บริการแถบสุขุมวิท สาธร ในความเร็ว 100 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วในมาตรฐานเก่าของ Fiber to the Home และยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายมากนัก แต่มีแนวโน้มจะแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเนื่องจากทางการไฟฟ้าทั้ง 3 ภาคส่วนเองเริ่มสนใจที่จะนำมาใช้โดยกำลังอยู่ในระหว่างการวางแผนว่าการไฟฟ้า จะทำเองหรือจะให้บริษัทเอกชนรายไหนมาเช่าไปดำเนินการ ซึ่งผมก็เคยรับงานบางส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาศึกษาอยู่”

    “อย่างบริษัท CAT นี่ผมก็ไปทำการศึกษาออกแบบลงพื้นที่นำร่องให้เมื่อปีที่แล้วว่าถ้าจะทำใน กรุงเทพฯ ต้องลงทุนประมาณเท่าไร ตกถึงผู้ใช้บริการแล้วต้องจ่ายค่าใช้บริการเดือนละเท่าไร ซึ่งทางบริษัทก็สนใจพอสมควร เพราะอย่างไรก็ตามคาดว่าเทคโนโลยีนี้ต้องมาแทน ADSL อย่างแน่นอน ส่วน ToT นี่ทดลองวางจริงเลย โดยทำที่ภูเก็ตคาดว่าปีนี้จะลองให้บริการจริงเป็นพื้นที่นำร่อง และหน่วยวิจัยของ ToT ก็มีการซื้อชุดทดลองระบบ Fiber to the home นี้มาและวางแผนทำการทดลองว่าจะสามารถพัฒนาอะไรต่อได้บ้าง”

  • ระบบ Fiber to the Home จะเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยได้อย่างไร
  • “ถ้าจะทำให้ประเทศเรานิยมใช้ Fiber to the Home อย่างประเทศญี่ปุ่นนี่ ต้องผลักดันจากผู้ใช้งาน อย่างประเทศญี่ปุ่นจะมีโฆษณาว่าสามารถสั่ง VDO on Demand ได้ โดยต้องใช้ระบบ FTTH คนก็จะนิยมกันมาก เพราะที่ญี่ปุ่นจะไม่มีของละเมิดลิขสิทธิ์ การไปเช่าวิดีโอมาดูจึงราคาแพงพอสมควร ดังนั้นจึงต้องดูว่าประเทศเราควรจะผลักดันบริการส่วนไหนจึงจะทำให้คนใน ประเทศมีความสนใจระบบนี้มากขึ้น พอคนสนใจบริการนั้นๆ เค้าก็จะเรียนรู้ว่าต้องใช้ระบบ FTTH จึงจะใช้บริการนั้นได้ ระบบนี้ก็จะมีคนสนใจและได้รับความนิยมขึ้นมา เช่นคนไทยอาจจะสนใจ HDTV (High Definition TV) คือทีวีที่มีความชัดมากๆ ซึ่งถ้าจะส่งผ่านสายเคเบิลธรรมดานี่เป็นเรื่องยาก ส่งผ่าน ADSL นี่แทบเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นถ้าเราอาจโปรโมต HDTV เมื่อคนสนใจก็จะมีการใช้ Fiber to the Home แพร่หลายขึ้น และอีกส่วนหนึ่งที่คิดว่าคนน่าจะสนใจกันมากคือ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งถ้าผ่านระบบ Fiber to the Home จะมีความเร็วสูงมาก การ Download ต่างๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น”

  • ประโยชน์ของ Fiber to the Home นอกจากจะเกิดกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไปแล้ว ยังยังสามารถช่วยพัฒนาบริการทั้งหลายที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศได้ อีกด้วย
  • “อย่างเช่น การแพทย์ทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต (Telemedicine) คือ เราอยู่ส่วนหนึ่งของประเทศเราสามารถปรึกษาแพทย์ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของประเทศ ได้ โดยการส่งรูป ส่งฟิล์มเอ๊กซ์เรย์ ทั้งหลายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ไปปรึกษาแพทย์แบบ Real time ได้ หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดทางไกลที่ว่าต้องมีการควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอยู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งต้องใช้ข้อมูลสื่อสารแบบ Real timeในการดำเนินงานจำนวนมหาศาล หรือพวก E-education คือคนสอนอยู่อีกที่หนึ่งคนเรียนอยู่อีกที่หนึ่ง สอนโดยผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งต้องใช้การสื่อสารข้อมูลจำนวนมหาศาลเช่นกัน ซึ่งถ้าระบบนี้มีการแพร่หลายและเชื่อมโยงไปทั่วทุกที่ก็จะช่วยในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชากร และพัฒนาประเทศได้”

    “นอกจากนั้นยังช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรม คือเมื่อใช้ระบบ Fiber to the Home ก็มีความต้องใช้ Modem สำหรับ Fiber to the Home โดยเฉพาะเพื่อแปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า รวมทั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ ซึ่งเมื่อมีการใช้แพร่หลายและเราต้องนำเข้าจากต่างประเทศก็จะต้องใช้ค่าใช้ จ่ายสูงเนื่องจากมีราคาแพง ถ้าเราสามารถผลิตเองได้ในประเทศซึ่งปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตในประเทศ ก็จะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมได้”

  • และอาจารย์ก็ได้ให้ความเห็นว่า คนไทยจะต้องได้รู้จักและหันมาใช้ระบบ Fiber to the Home ในเร็ววันนี้แน่นอน
  • “สำหรับระบบ Fiber to the Home นี้คิดว่าจะแพร่หลายในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยในกรุงเทพมหานครนี้คิดว่าคงจะแพร่หลายกันในระยะเวลาประมาณ 3 ปีนี้อย่างแน่นอน”

  • นอกจากนั้นแล้วอาจารย์ยังได้ทำการวิจัยในส่วนอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอีกด้วย
  • “อย่างที่ได้กล่าวว่าจริงๆ ผมศึกษามาทางด้านการเชื่อมโยงระบบทางไกลเป็นพันๆ กิโลเมตร แต่เมื่อมาทำงานก็เน้นไปที่การโยงเครือข่ายจากบ้านไปยังชุมสายอย่าง Fiber to the Home รวมทั้งเน็ตเวิร์คซึ่งเป็นโครงข่ายในระดับเมือง นอกจากนั้นยังพัฒนาในส่วนที่เรียกว่า All optical signal processing หมายความว่าการประมวลผลสัญญาณในรูปแบบของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้ามายุ่ง ปกติตัวสัญญาณข้อมูลแสงนั้นทำให้มันช้า มันหยุด หรือจับใส่ฮาร์ดดิสก์เหมือนข้อมูลในรูปแบบของทางไฟฟ้าไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ผมทำคือทำการศึกษาว่าทำอย่างไรจะทำให้แสงมันช้า หรือจะหยุดเวลาของแสงได้อย่างไร หรือว่าทำอย่างไรจะแปลงความยาวคลื่นของแสงโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลย นี่คือสิ่งที่กลุ่มของผมทำการวิจัยอยู่ด้วย”

  • นอกจากนั้นอาจารย์ยังสนใจศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยทางด้านการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
  • “นอกจากทำในเรื่องพวกนี้แล้วผมยังฉีกแนวทำ เรื่องอื่นอีก คือระบบ Fiber-optic นี่โดยปกติต้องใช้สายในการส่งสัญญาณ ในขณะที่ทำงานเกี่ยวกับระบบใช้สายสัญญาณนั้น ผมก็ศึกษาวิจัยอยู่กับระบบไร้สายด้วย”

    “ในอนาคตที่พูดถึง Fiber to the Home แล้วเรายังมีอินเตอร์เน็ตผ่านระบบที่เรียกว่าระบบไร้สายหรือ Wi-max บางท่านคงรู้จักระบบ Wi-fi ที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่ง Wi-fi มีรัศมีประมาณ 30-100 เมตร แต่ Wi-max มีรัศมีประมาณ 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็วสูงสุดประมาณ 75 Mbps เพราะฉะนั้นถ้ารัศมีกว้างขนาดนี้เราสามารถเล่นอินเตอร์เนตในรถได้ หรือใช้งานขณะเดินไปเดินมาได้ หรือถ้ามหาวิทยาลัยติดตั้งตัวส่งสัญญาณตัวเดียวนี่สามารถใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มของผมก็ทำวิจัยทางด้านนี้ด้วย ”

  • และสิ่งที่อาจารย์อยากจะฝากไว้ก็คือ
  • “ในปัจจุบันเทคโนโลยีด้านต่างๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วให้มีประสิทธิภาพการใช้งานต่างๆ สูงขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งาน คือประชาชนทั่วไปได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ก็รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงอยากให้ทุกคนคอยติดตามความก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้”

    ISDN

    ISDN คืออะไร
    Integrated Service Digital Network คือบริการสื่อสารร่วม หมายถึงสามารถรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูลได้พร้อมกัน ในระบบดิจิตอล ทำงานโดยการหมุนโทรศัพท์ผ่านคู่สาย ISDN ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 64 kbps - 128 kbps (สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 2 วงจร หรือ 2 sessionพร้อมกัน) และเนื่องด้วย ISDN เป็นการสื่อสารในระบบดิจิตอล ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ระบบจึงไม่มีสัญญาณรบกวน

    การใช้งาน นอกเหนือจากการนำมาใช้ Internet ด้วยความเร็วสูงแล้ว เรายังสามารถนำ ISDN มาใช้ในลักษณะของ Video Conferrent หมายถึง การประชุมระหว่างประเทศ หรือจังหวัด โดยสามารถมองเห็นได้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน

    บริการของ ISDN แบ่งได้ 2 ประเภท
    • Individual
      เหมาะสำหรับตามบ้าน หรือองค์กรที่ไม่มีระบบ LAN หรือ หมายถึงผู้ใช้งานคนเดียว



    • Corporate หรือ LAN
      เหมาะสำหรับองค์กรที่มีระบบคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค สามารถใช้งาน internet ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน

    ขั้นตอนการขอใช้บริการ ISDN
    • ขอติดตั้งบริการ ISDN จากองค์การโทรศัพท์
    • ซื้ออุปกรณ์ ISDN modem หรือ ISDN Router
    • สมัครสมาชิกกับ บริษัทที่ให้บริการ internet หรือ ISP
    เพิ่มเติม
    • กรณีใช้งาน ISDN ร่วมกับโทรศัพท์ ความเร็วจะถูกลดลงเหลือ 64 kbps
    • ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการใช้งาน ครั้งละ 3 บาท
    • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การหมุนโทรศัพท์อาจเกิดปัญหาสายไม่ว่าง สายหลุด เช่นเดียวกับ Modem ธรรมดา

    x.25

    X.25 เป็นโพรโทคอลชนิดนึงที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในระบบ WAN โดยเป็นแบบ PACKET-SWITCHEDมันจะทำงานในส่วนของ OSI MODEl Layer ที่ 1 - 3

    X.25 มีส่วนประกอบของการทำงานด้วยกันอยู่ 3 ส่วน ได้แก่

    • DTE - ได้แก่อุปกรณ์ ตัวสุดท้ายที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น TERMINAL,PC หรือ HOST ของเน็ตเวิร์ค
    • DCE - เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ระหว่าง PSE กับ DTE (DTE ไม่มีความสามารถในการติดต่อ กับ PSE ได้โดยตรงจะต้องทำผ่านตัวกลาง DCE ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาญ CLOCK ก่อนถึงจะส่งข้อมูลไปหา DTE ได้)
    • PSE - เป็นสวิตท์ที่ทำหน้าที่เป็น แอร์เรีย เน็ตเวิร์ค ขนาดใหญ่ โดยจะทำการส่งข้อมูลไปยัง DTE ด้วยโปรโตตอล X.25

    ในขณะเดียวกันเราจะ พบกับ PAD (Packet Assembler/Disassembler) ใน X.25 มันจะทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ระหว่าง DCE กับ DTE ให้สามารถทำงานได้เต็มรูปแบบ โดย เมื่อมีการส่งข้อมูลจาก PSE จะส่งมาที่ DCE หลังจากนั้น ข้อมูลจะถูกส่ง ให้กับ DTE แต่ในขณะที่ส่ง DCE จะทำการส่งผ่าน PAD ก่อน โดย PAD จะทำหน้าที่ เป็นบัฟเฟอร์ ในการกรอง ข้อมูล โดยการตัดส่วน ของ HEADER ของ X.25 ออก ก่อน

    ข้อตกลงในการติดตั้งx.25 เมื่อ DTE 1ตัว ทำการร้องขอต่อส่วนการสื่อสารอื่น DTE จะทำการรับข้อตกลงหรือไม่รับก็ได้ ถ้ารับจะมีการทำงานในแบบ Full Duplex

    การเลือกเส้นทางการส่งข้อมูล ของ x.25

    มี 2 วิธี คือ

    • แบบ switched (SVCs) เป็นการเชื่อมต่อชั่วคราวใช้สำหรับถ่ายข้อมูลเป็นช่วงๆ ซึ่งวงจรที่ใช้ switched ได้แก่วงจร DTE ที่มี 2แหล่ง, maintain และTerminate

    โดยอุปกรณ์แต่ละอย่างจำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารกัน

    • แบบ permanent (PVCs) เป็นการเชื่อมต่อแบบถาวรใช้สำหรับถ่ายข้อมูลที่การถ่ายโอนการบ่อยๆ ตัวPVCs ไม่ต้องการตัวสร้างและตัว Terminate.ดังนั้นทำให้ตัว

    DTEทั้งหลายสามารถที่เริ่มทำการส่งข้อมูลเมื่อมีการร้องขอเพราะตัวสร้างทำงานตลอดเวลา

    โครงร่างส่วนประกอบของโพรโทคอล X.25

    ประกอบด้วย Packet-Layer protocol (PLP) ,Link access Procedure,Balanced (LAPB) และการติดต่อแบบอนุกรมอื่นๆเช่น (EIA/TIA-232,EIA/TIA-449,EIA 530 และG.703)

    แพ็คเกตและ เลเยอร์โพรโทคอล

    ด้วย Packet-Layer protocol (PLP) มีหน้าที่ในการควบคุมการแลกเปลี่ยน packet ระหว่างอุปกรณ์ dte มันจะทำงานในระดับที่สูงกว่า Logical link control 2 (LLC2) อันได้แก่ ระบบ Lan และ ISDN โดยทำงานในระดับ Link Access Procedure on the D channel (LAPD) การทำงานของ PLP มีการทำงาน 5 ลักษณ์ คือ call setup,data transfer,idle,call clearing,และ restarting

    • call setup จะใช้กันระหว่าง SVCs กับอุปกรณ์ DTE จะทำงานในวงจรพื้นฐานโดยจะเลือกวงจรหลักหนึ่งวงจรที่ใช้ในการเรียก call setup mode ส่วนตัวอื่นจะเป็น data transfer mode. ในวิธีนี้จะใช้กับ SVCs เท่านั้นไม่รวม PVCs.
    • Data transfer mode ใช้สำหรับถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ DTE 2 ตัวผ่านวงจรในอุดมคติ.ซึ่งในโหมดนี้ PLP ได้แบ่งเครื่องมือและตัวควบคุมออกเป็น bit padding , error และ flow
    • control ในวิธีนี้จะทำงานในวงจรพื้นฐานและใช้ได้ทั้ง PVCs และSVCs
    • Idle mode ถูกใช่เมื่อข้อมูลที่ถูกเรียกไม่มีในเส้นทาง มันจะทำการใช้เฉพาะเส้นทางพื้นฐาน ใช้ได้เฉพาะ svc
    • Restarting mode ใช้ในถ่ายโอนข้อมูลที่สัมพันธ์กันระหว่าง อุปกรณ์ DTE และ อุปกรณ์ติดต่อ DCE จะทำงานในเส้นทางของ svc กับ pvc

    LAPB

    LAPB เป็นข้อมูลเชื่อมต่อโพรโทคอลให้บริหารการติดต่อและรูปแบบแพ็คเก็ตระหว่าง อุปกรณ์ DTEและ DCE. LAPB เป็น bit-oriented โพรโทคอล ซึ่งเฟรมนั้นจะถูกต้องตามต้องการและไม่มีข้อมูลผิดพลาดแน่นอน. เฟรม LAPB ทั้ง 3ชนิดประกอบด้วย ข้อมูล,ส่วนตรวจสอบ,ส่วนไม่นับ. เฟรมข้อมูล (I-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนบนของเลเยอร์และข้อมูลควบคุมบ่างส่วน. ฟังก์ชัน I-FRAME ประกอบด้วย ซีเควียนติง,ชาร์ตควบคุม,และส่วนหาและตรวจสอบข้อผิดพลาด. I-FRAME จะส่งพาหะและรับเลขลำดับ.เฟรมตรวจสอบ (S-FRAME) จะพาข้อมูลควบคุม.ฟังก์ชัน S-FRAME ประกอบด้วยส่งความต้องการและส่วนส่งพักตำแหน่ง,รายงานสถานะและรับรู้จาก I-FRAME . S-FRAME จะพาเฉพาะส่วนรับลำดับหมายเลข.ส่วนไม่นับ (U-FRAME) จะพาข้อมูลส่วนควบคุม. ฟังก์ชัน U-FRAME ประกอบด้วยส่วนติดตั้งเชื่อมโยงและตัดการติดต่อ คล้ายๆตัวรายงานข้อมูล ERROR . U-FRAME จะพาเฉพาะหมายเลขที่ไม่เป็นลำดับ

    X.21bis

    X.21bis เป็นเลเยอร์โพรโทคอลทางกายภาพที่ใช้ใน X.25 โดยอธิบายในรูปของอิเล็กทรอนิกส์และรูปของเครื่องจักรที่ใช้ในระดับกลางๆ. X.21bis เป็นเครื่องมือกระตุ้นและระงับของอุปกรณ์เชื่อมต่อ DTEและ DCEในระดับภายนอกกลางๆ.ซึ่งมันจะสนับสนุนการเชื่อมต่อแบบ จุดต่อจุด และมีความเร็วถึง19.2 kbps,และสัมพันธ์กัน,การส่งข้อมูลทางมีเดียร์เป็นแบบ full-Duplex มากกว่า 4เส้น


    -ช่วยให้ remote Device สามารถที่จะติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง

    -Packet Switching เป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ packet ของ HDLC data ที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน

    -x.25 protocol ทำงานบน 3 Layer ล่าง บน OSI Layer

    -User ปลายทาง คือ DTE

    -อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE

    -Switching virtual circuits (SVCs) คล้ายกับระบบโทรศัพท์ กล่าวคือ Create Connection แล้วส่งข่าวสาร และ close connection เมื่อเสร็จสิ้น ซึ่งทุก DTE จะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกันบน Network

    -Permanent virtual circuits (PVCs) ค้ลายกับระบบคู่สายเช่า ใช้การเชื่อมต่อเต็มเวลา packet จะถูกส่งออกไปโดยไม่มีการ create connection ขึ้นก่อน

    -การสร้าง connection ใช้ SVC ทำโดย DTE ต้นทาง จะส่ง Call Request packet ซึ่งมีที่อยู่ของ DTE ปลายทางไปยัง Network และ DTE ปลายทางจะทำการตัดสินใจว่าจะตอบรับหรือไม่ ถ้าตอบรับก็จะส่ง Call Accepted packet กลับมา หรือถ้าไม่รับ จะส่ง Clear packet เมื่อต้นทางได้รับ Call Accepted packet แล้ว Virtual Circuit จะเกิดขึ้นทันทีแล้วจะเริ่มส่งข้อมูลกัน และเมื่อ DTE ใดต้องการยกเลิกการเชื่อต่อ ก็จะส่ง Clear Request packet ออกไปอีกฝั่งก็จะตอบรับด้วย Clear Confirmation packet

    -ทุก packet จะถูกทำเครื่องหมายด้วย Logical Channel Identifier (LCI) หรือ Logical Channel Numer (LCN) ซึ่งจะใช้เป็นตัวตัดสินใจหาเว้นทางที่เหมาะสมไปยัง DTE ปลายทาง

    -ขนาดของ packet จะมีตั้งแต่ 64byte ไปจน 4096 byte แต่ 128 byte คือ default

    -store-and-forward is nuture of Packet Switching

    -ปัญหาของ x.25 คือ Inherent Delay เพราะมาจากเทคนิค store-and-forward และยังต่อมีการจอง buffer ขนาดใหญ่ ซึ่งตรงข้ามกับ frame relay ที่จะไม่มีการ store แต่จะ switch หาเส้นทางที่เหมาะสมในทันที นอกจากนี้ x.25 ยังมีการตรวจสอบ Error ทุกครั้งที่ได้รับ packet และก่อนที่จะ switch ต่อไปอีกที่

    -เมื่อตรวจพบ Erroe apcket ตัว Switching จะยกเลิก packet นั้นออกไปทันที ส่วน DTE ปลายทางก็จะรอจน Time-Out แล้วส่งใหม่

    - x.25 เป็นจุดต้นกำเนิดของ frame relay หรือ Cell Relay

    วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบเรื่อง IP V6

    ข้อสอบเรื่อง IP V6

    1. (IPV6) ย่อมาจากอะไร
    ก. Internet Protocol Vertion6
    ข. Vertion6
    ค. Internet Protocol
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ก. Internet Protocol Vertion6

    2.โพรโตคอลดังกล่าวทั้งหมดกี่ฉบับ
    ก. 1ฉบับ
    ข. 2ฉบับ
    ค. 3ฉบับ
    ง.4ฉบับ
    เฉลย ง.4ฉบับ

    3.CATNIP ย่อมาจากอะไร
    ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
    ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
    ค.(Simple Internet Protocol Plus)
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)

    4.TUBA ย่อมาจากอะไร
    ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
    ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
    ค.(Simple Internet Protocol Plus)
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)

    5. SIPP ย่อมาจากอะไร
    ก.(Common Architecture for Next Generation Internet Protocol)
    ข.(TCP and UDP with Bigger Addresses)
    ค.(Simple Internet Protocol Plus)
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ค.(Simple Internet Protocol Plus)

    6.แนวทางในการพัฒนาIPV6 อย่างเป็นทางการไว้ในเอกสาร RFC 1752 โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
    ก.นโยบายการแบ่งสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส
    ข.ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเรียกคืนชุดหมายเลขไอพีรุ่นที่ 4 ที่มีการใช้ประโยชน์ต่ำกว่าเกณฑ์กลับคืนมา
    ค.ให้ใช้หลักการแบ่งสรรหมายเลขไอพีคลาส A ที่เหลืออยู่แบบ CIDR
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง.ถูกทุกข้อ

    7.โครงการ IP ng Area (คณะทำงานที่ถูกแต่งตั้งโดย Internet Engineering Task Force, IETF ในปีค.ศ.ใด
    ก.1991
    ข.1992
    ค.1993
    ง.1994
    เฉลย ค.1993

    8.คณะทำงาน IP ng ถูกก่อตั้งขึ้นโดยใคร
    ก.Steve Deering และ Ross Callon
    ข.adda
    ค.Ping
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ก.Steve Deering และ Ross Callon

    9.คณะทำงาน Address autoconfiguration ถูกก่อตั้งและนำทีมโดยใครบ้าง
    ก. Ross Callon
    ข. Steve Deering
    ค. Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ค. Dave Katz ร่วมกับ Sue Thomson

    10.โครงการ IPng Area จะสิ้นสุดลงเมื่อปลายพ.ศ.ใด
    ก.ปลายปี 1994
    ข.ปลายปี 1997
    ค.ปลายปี 1995
    ง.ปลายปี 1990
    เฉลย ค.ปลายปี 1995

    11.คุณลักษณะเฉพาะของ IPng APIs คืออะไรบ้าง
    ก.ต้องสนับสนุน Authentication header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง
    ข.ต้องสนับสนุน Privacy header และ algorithm อย่างเฉพาะเจาะจง
    ค.ต้องมีการพัฒนาโครงร่างของระบบ Firewall สำหรับ IPng
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง.ถูกทุกข้อ


    12.และในช่วงกลางปี 1994 เช่นกัน IPng ได้รับการกำหนดหมายเลขรุ่นโดยหน่วยงานใด
    ก.ไม่มีข้อถูก
    ข.Internet Assigned Numbers Authority(IANA)
    ค.อเมริกา
    ง.หน่วยงานจากญี่ปุ่น
    เฉลย ข.Internet Assigned Numbers Authority(IANA)

    13.จากข้อ12.ได้รับเป็นรุ่นที่เท่าไหร่
    ก.ให้เป็นรุ่นที่ 6 อันเป็นที่มาของ IPv6
    ข.ให้เป็นรุ่นที่ 4 อันเป็นที่มาของ IPv4
    ค.ให้เป็นรุ่นที่ 5 อันเป็นที่มาของ IPv5
    ง.ให้เป็นรุ่นที่ 7 อันเป็นที่มาของ IPv7
    เฉลย ก.ให้เป็นรุ่นที่ 6 อันเป็นที่มาของ IPv6

    14. เอกสาร RFC1752 ชุดนี้ได้ถูกยอมรับและดำเนินการต่อโดยคณะทำงานภายใต้ IETF ที่ชื่อว่า อะไร
    ก. Internet
    ข. Engineering
    ค.Internet Engineering Steering Group (IESG)
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ค.Internet Engineering Steering Group (IESG)

    15. IP Address มีอยู่กี่ลักษณะ
    ก.สองลักษณะด้วยกัน
    ข.สามลักษณะ
    ค.สี่ลักษณะ
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ก.สองลักษณะด้วยกัน

    16. IP Address มีลักษณะบ้าง
    ก. Static IP
    ข. IP Address
    ค. Dynamic IP
    ง. Static IPและ Dynamic IP
    เฉลย ง. Static IPและ Dynamic IP

    17. หน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดสรร IP Address เหล่านี้คือ
    ก.หน่ายงานจากต่างประเทศ
    ข.หน่วยงานภายในประเทศไทย
    ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ค.องค์การระหว่างประเทศที่ชื่อว่า Network Information Center - NIC

    18. IPv6 ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวนกี่บิต
    ก.128 บิต
    ข.84 บิต
    ค.32 บิต
    ง. 16 บิต
    เฉลย ก.128 บิต

    19.จุดเด่นของ IPv6 ที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมากจาก IPv4 คืออะไร
    ก.ขยายขนาด Address ขึ้นเป็น 128 บิต สามารถรองรับการใช้งาน IP Address ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้
    ข.เพิ่มขีดความสามารถในการเลือกเส้นทางและสนับสนุน Mobile Host
    ค.สนับสนุนการทำงานแบบเวลาจริง (real-time service)
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง.ถูกทุกข้อ

    20.เฮดเดอร์ของ IPV 6 เทียบกับของ IPV 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างอะไรบ้าง
    ก.ตำแหน่งที่ตัดออก
    ข.ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน
    ค.ตำแหน่งที่เพิ่ม
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง.ถูกทุกข้อ

    21 Internet Protocol Vertion6 (Ipv6) มีขนาดเท่าใด
    ก. มีขนาด 126 bit
    ข. มีขนาด 128 bit
    ค. มีขนาด 129 bit
    ง. มีขนาด 127 bit
    เฉลย ข. มีขนาด 128 bit

    22.ข้อเสียของ Ipv6 คืออะไร
    ก.การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี
    ข.ประเทศไทยยังมีการติดตั้งเครือข่าย IPv6 ไม่มากนัก จะเกิดขึ้นกับคนบางกลุ่มหรือกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆเท่านั้น
    ค.ในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงไม่ตื่นตัวหรือสนใจที่จะใช้ IPv6 ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในอนาคต
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง.ถูกทุกข้อ

    23.ข้อดีของ Ipv6 ข้อใดผิด
    ก.การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อย
    ไปและถูกวิธี
    ข.มีหมายเลข IP Address มากกว่าเดิมมาก ทำให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้
    ค.มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี
    ง.มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ ( Mobile IP )
    เฉลย ก.การใช้ IPv6 แทน IPv4 เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและถูกวิธี

    24. ลักษณะทั่วไปของ IPv6 ข้อใดถูก
    ก.มีความสามารถมากขึ้นในการ Routing, Security, Quality of Services (QoS) ภายใน IP Header
    ข.สนับสนุน Real Time Services
    ค.สนับสนุนการ Assign หมายเลข IP Address โดยอัตโนมัติ ในขณะที่ IPv4 ต้องพึ่งโปรโตคอลอื่นๆ เช่น DHCP เป็นต้น
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง.ถูกทุกข้อ

    25.ข้อใดไม่ถูกต้องของตำแหน่งที่เพิ่มขึ้นมาของ IPv6 เมื่อเทียบกับ IPv4
    ก. Type of Service ของ IPv4 ถูกแทนที่ด้วย Traffic Class ซึ่งใช้ระบุว่า packet นี้อยู่ใน class ไหนและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่ เพื่อที่ router จะได้จัด QoS DiffServ ในการส่ง packet ให้เหมาะสม
    ข. Flow label ใช้ระบุ end-to-end traffic flow ระหว่างต้นทางกับปลายทาง ใน application หนึ่งๆสามารถสร้าง flow ได้หลายๆ อัน อย่างเช่น video conference เราสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้ แม้ว่าจะเปิด socket ในการทำงานเพียง socket เดียว
    ค. Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้
    ง.ไม่มีข้อถูก
    เฉลย ค. Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่ามันซ้ำซ้อนกับ function ของ protocol บน layer ที่อยู่สูงกว่า IP อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผล packet ด้วย เพราะ checksum ต้องคำนวณใหม่ที่ router เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่ router ได้

    26. IPv6 address ถูกแบ่งออกเป็นกี่กลุ่มใหญ่ๆ
    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3
    ง. 4
    เฉลย ค. 3

    27.จากข้อที่ 26 มีอะไรบ้าง
    ก.Unicast
    ข. Multicast
    ค. Anycast
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง.ถูกทุกข้อ



    28. IPv6 นั้นมี รูปแบบของ IP Address อยู่ทั้งหมดกี่ประเภทหลักๆ
    ก.2
    ข.4
    ค.6
    ง.8
    เฉลย ค.6

    29. IPv6 "Internet Protocol Version 6" ซึ่งจะเป็น Internet protocol ออกแบบและคิดค้นโดย
    ก.Microsoft
    ข.IETF
    ค. CATNIP
    ง. SIPP
    เฉลย ข.IETF

    30. Dual stacks หมายถึง
    ก.การใช้งาน IPv4 และ IPv6 stack ควบคู่กันไปภายในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน
    ข.การปรับเปลี่ยนเครือข่ายจาก IPv4 สู่ IPv6
    ค.สำหรับการให้บริการเชื่อมต่อ กันระหว่างเครื่องที่ใช้และติดตั้งหมายเลข IPv6 เพียงอย่างเดียว
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ก.การใช้งาน IPv4 และ IPv6 stack ควบคู่กันไปภายในอุปกรณ์ตัวเดียวกัน

    วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

    เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการกระจาย

    IPv4 addresses
    IPv4 ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น 192.168.1.1 หรือ 203.97.45.200 มาจากเลขฐานสอง(มีเลข 1 กับเลข 0 เท่านั้น) จำนวน 32 บิท ตัวอย่าง

    110000001010100000000001000000001

    ถ้าเป็น IP แบบนี้ IP เดียว คงจะพอจำได้ แต่เวลาอ้างถึง IP คงจะบอกกัน หนึ่ง หนึ่ง ศูนย์ ศูนย์.......... เป็นที่ลำบาก ทั้งคนบอกและคนฟัง เพื่อให้สื่อถึงกันได้ง่ายขึ้น จึงใช้วิธีเปลี่ยนเป็นเลขฐานสิบ ที่เราคุ้นเคย แต่ถ้าเปลี่ยนทีเดียวทั้ง 32 บิท เป็นเลขฐานสิบแล้ว ก็ยังเป็นจำนวนสูงมาก ยากที่จะจดจำเช่นกัน จึงใช้แบ่งเลขฐานสอง 32 บิทที่ว่าเป็นช่วง ๆ ช่วงละ 8 บิท 4 ช่วง จากนั้นก็แปลงเลขฐานสอง 8 บิทเป็นเลขฐานสิบแต่ละช่วงคั่นด้วย "." อธิบายมากไป อาจจะงงเปล่า ๆ ดูตัวอย่างดีกว่า

    11000000 10101000 00000001 000000001 = 192.168.1.1

    สำหรับท่านที่ไม่เคยเรียนวิธีการแปลงฐานเลข อาจจะงง ได้เลข 192.168.1.1 มาอย่างไร มาดูวิธีการแปลงฐานเลข กันสักหน่อยดีไหม สูตรการแปลงฐานเลข (จำไม่ได้เหมือนกัน นึก ๆ เอา ถ้าผิดขออภัย)

    N*B(x-1)
    เมื่อ

    N คือจำนวนเลขที่เราเห็น 0 หรือ 1 สำหรับเลขฐานสอง ถ้าเป็นฐานอื่น ก็จะมีเลชมากกว่านี้ เช่น ฐานแปด ก็จะมีเลข 0 - 7

    B คือฐานเลข ในที่นี้ เท่ากับ 2 เพราะเป็นฐานสอง ถ้าฐานแปด B ก็จะเท่ากับแปด

    X เป็นหลักที่เลข N อยู่
    ว่าไปแล้วผมก็ชักมึน ๆ ไม่รู้ว่าสูตรจริง ๆ เป็นแบบนี้เปล่า มาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า

    11000000 = 1*27 + 1*26 + 0*25+ 0*24 + 0*23 + 0*22 + 0*21 + 0*20

    ________= 128 + 64 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0
    ________= 192
    10101000 = 1*27 + 0*26 + 1*25+ 0*24 + 1*23 + 0*22 + 0*21 + 0*20
    ________= 128 + 0 + 32 + 0 + 8 + 0 + 0 + 0
    ________= 168
    00000001 = 0*27 + 0*26 + 0*25+ 0*24 + 0*23 + 0*22 + 0*21 + 1*20
    ________= 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 0 + 1
    ________= 1

    พอว่าเรื่องการแปลงฐานเลข ทำให้นึกได้ เมื่อก่อนนี้ ไม่เข้าใจเลย เช่น เวลา Network admin ให้มาว่า เน็ตเวอร์กคุณคือ 203.46.246.64/28 นะ เราก็พอรู้ว่า /28 น่ะคือ netmask แล้วมันคือ netmask เท่าไร หาได้อย่างไร ตอนหลังจึงทราบว่า 28 มาจาก mask ตัวเลข 1 ไป 28 บิท(ของ 32 บิท) ที่เหลือเป็น 0 หมด เขียนเป็นเลขฐานสอง 8 บิท 4 ชุดได้ว่า

    11111111 11111111 11111111 11110000 พอรู็ว่าเป็นแบบนี้ ก็แปลงเป็นฐานสิบจากวิธีการข้างบนได้ว่า 255.255.255.240 จึงหายสงสัยไปได้


    URL
    Http://Limux.sra.cattelecom.com/new/Ipv6.HTML

    IPv6 (IP Address version6)

    IPv6 (IP Address version6)
    มี Address ประมาณ 1 พันล้าน addresses
    ประมาวลผลได้เร็วกว่า IPv4
    มีการรองรับการจัดการ เพื่อให้สามารถส่งขอ้มูลได้รวดเร็ว ทำให้สื่อสารแบบ Real time ได้
    IPv6 Addressing
    มีขนาด 16 ไบต์ หรือ 128 บิต ในการเขียน Address ของ IPv6 จะใช้เลขฐาน 16 โดยแบ่งบิตข้อมูลออกเป็น 8 ส่วนๆ ละ 2 ไบต์ ดังนั้นต้องใช้ตัวเลข 4 หลักสำหรับแต่ละส่วน แล้วใช้ ":" (Gap) คั่นระหว่างส่วนต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเขียน Address แบบย่อ โดยย่อส่วนที่มีเลข 0 ต่อเนื่องกัน เช่น
    - 1080:0000:0000:0000:0000:008:200C:417A สามารถอ่านเขียนย่อโดยใช้ 0 ตัวเดียว แทน 0000
    - 1080::0008:0800:200C:417A เลขศูนย์ที่ติดกันต่อเนื่องเป็นชุด สามารถใช้สัญลักษณ์ "::" แทนเลขศูนย์ทั้งชุดได้
    Transition from IPv4 to IPv6
    การเปลี่ยนแปลงจาก IPv4 เป็น IPv6 ไม่สามารถทำได้ในทันที ต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จุงค่อยๆทำ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในการใช้งาน
    IETF กำหนดมาตรฐานในการเปลี่ยนจาก IPv4 เป็น IPv6 ไว้ 3 วิธี ดังนี้
    1. Dual Stack เนื่องจาก Protocol ของการใช้ stack คู่นี้จะทำให้ Host สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งสองอย่าง ในการเลือกว่าจะส่ง Packet ออกไปให้กลับ Host ปลายทางโดยใช้ IP เวอร์ชั่นไหนนั้น Host ต้นทางจะส่งPacket ไปยัง DNS (Domain Name System) ก่อน ถ้าตอบ IPv4 กลับมา แสดงว่า Host ต้นทางจะต้องส่ง Packet เป็น IPv4 เป็นต้น
    2. Tunneling คือ Host ทั้ง 2 ตัวใช้ IPv6 ต้องการสื่อสารกัน แต่ต้องส่ง Packet ผ่าน IPv4 ดังนั้น Packet นั้นจะต้องใช้ Address ของ IPv4ด้วย ทำให้ Packet IPv6 ต้อง Encapsulate เป็น Packet IPv 4 ก่อน เมื่อออกจากเครือข่าย IPv4 จึงทำการ Decapsulate ให้เป็น Packet IPv6 เหมือนเดิม
    3. Header Translation จำเป็นเมื่อ Internet ได้มีการเปลี่ยนเป็น IPv6 แต่ยังมีบางเครื่องที่ใช้ IPv4 ต้องเปลี่ยนโครงสร้างของ Header ทั้งหมด โดยใช้วแปลง Header ทำหน้าที่ในการแปลง Header ของ IPv6 ให้เป็น IPv4

    วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

    Routing Protocol

    Routing Protocol

    คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับNetwork Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย

    การทำงานของ Router
    Router เป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย (network)
    Router หน้าที่หลักของคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย

    การเชื่อมต่อของ Router
    การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายผ่านทาง WAN หรือโครงข่ายสาธารณะ เช่น ISDN หรือ การเช่าคู่สาย 64K ขึ้นไป เราเรียกว่า WAN Router
    การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายชนิดติดตั้งบนแลน เราเรียกว่า Local Router บางครั้งจะถูกเรียกว่า Internal Router

    การจัดวางตำแหน่งของ Router
    การจัดวาง Router ที่เชื่อมต่อกันบน WAN คือการไหลของข้อมูลข่าวสารแบบ 80/20 %
    80% คือ ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่จะสื่อสารกันได้ภายในเครือข่ายเดียวกัน
    20% คือ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่จะข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายได้
    ในกรณีที่มีเครือข่าย หลายเครือข่ายติดตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และต้องการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างกัน ท่านจะต้องพิจารณาใช้ Switching Hub แบบ Layer 3 หรือ พิจารณาเพื่อติดตั้ง Router ในรูปแบบของเซิร์ฟเวอร์นั่นคือการติดตั้งการ์ดแลนหลายชุดบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั่นเอง
    ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย
    การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ไม่เกิน 200 เมตร ท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTP

    อัตราความเร็วที่ต้องการ
    อัตราความเร็ว หมายถึง ความเร็วของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายในระดับของข้อมูลข่าวสาร โดยคิดอัตราเมกกะบิตต่อวินาที หรือที่เรียกว่าค่า Throughput
    ถ้าปริมาณข้อมูลข่าวสารมีขนาดเล็กหรือปานกลางวิ่งที่ความเร็วไม่เกิน 100 Mbps และมีราคาถูก ท่านควรเลือกใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์
    ถ้าข้อมูลข่าวสารวิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่ายมีมาก (มากในระดับ 80% ขึ้นไป) เลือกใช้ความเร็วระดับ Gigabit โดยติดตั้งการ์ดแลนทั้งสองบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และเชื่อมต่อเข้ากับ Switches Hub ที่ติดตั้ง Gigabit Modules ทั้ง 2 ด้านบนเครือข่าย

    การเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่าย
    การเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ควรเลือกใช้ Layer 3 Switching Hub แทน เนื่องจากอัตราความเร็ว รวมทั้งปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ข้ามไปมาหลายเครือข่ายสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

    ประเภทของสื่อสัญญาณที่ใช้
    สื่อสัญญาณที่ใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงข้อจำกัดของการเชื่อมต่อเครือข่าย
    ใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์และใช้การ์ดแลนแบบ 100Base-FX ซึ่งใช้สาย Fiber Optic แบบ 2 Core (2 Strand) ขนาด 62.5/125 ความยาวคลื่นขนาด 850 nm ท่านสามารถเชื่อมต่อได้ระยะทาง 412 เมตร ต่อ 1 ด้าน
    Layer 3 Switches Hub และเป็นระบบ 100Base-FX มีระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ต่างก็ใช้ Switching Hub มาเชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลถึง 2 กิโลเมตร แต่ถ้าใช้ระบบ 1000Base-FX เชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลถึง 6-10 กิโลเมตร

    ปริมาณและขนาดความซับซ้อนของเครือข่าย
    Router ที่ทำจาก Server เหมาะสำหรับ ปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย จะต้องมีไม่เกิน 20% เท่านั้น โดยที่การสื่อสารที่เกิดขึ้น 80% เป็นของภายในเครือข่าย
    Router ที่ทำจาก Switches แบบ Layer 3 เหมาะสำหรับ การสื่อสารข้อมูลที่วิ่งข้ามไปมาระหว่างเครือข่าย 80% อีก 20% เป็นการสื่อสารภายใน

    Layer 3 Switches
    Router ที่ทำงานบน WAN ตัว Layer 3 Switches Hub ให้การสนับสนุนโปรโตคอลเลือกเส้นทาง มากมายหลายแบบ
    ให้การสนับสนุนโปรโตคอลเลือกเส้นทางแบบ RIP Version 1,2 รวมทั้ง OSPF (Open Short Path First)
    เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดใหญ่ ที่มีเครือข่ายมาก กระจายไปตามจุดหรืออาคารต่างๆขององค์กร
    มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบ Collapse back Bone

    Routing Protocol : โปรโตคอลเลือกเส้นทาง
    หัวใจหลักของ Router คือการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
    โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ในการคำนวณและจัดหาเส้นทาง ที่ดีที่สุด ที่เร็วที่สุด ไปสู่ปลายทางในรูปแบบของ Software
    โปรโตคอลเลือกเส้นทาง แบ่งออกเป็นระดับชั้น (Class) ใหญ่ ได้ 2 แบบ ดังนี้
    ระดับขั้น Interior Domain
    - Distance Vector ซึ่งเป็น Routing Protocol ที่อาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางเป็นตัวกำหนด
    - Link State ซึ่งอาศัยสถานะ การเชื่อมต่อเป็นตัวกำหนด
    ระดับขั้น Exterior
    - เป็น โปรโตคอลเลือกเส้นทาง ที่นำมาใช้เพื่อเชื่อมกลุ่มของ Router จำนวนมากหลายๆกลุ่มเข้าด้วยกัน ได้แก่ BGP

    Routing Information Protocol (RIP)
    เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Distance Vector ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายขนาด เล็กไปจนถึงขนาดกลาง
    เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางมาตรฐานที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายใด
    มี RIP Version 1 ที่ได้รับมาตรฐาน RFC 1058
    เป็นโปรโตคอลที่เรียบง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดตั้ง

    คุณลักษณะการทำงานของ RIP
    RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop
    RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที
    การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่
    การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น

    การทำงานขั้นพื้นฐานของ RIP Version 1
    มีการ Boot Router ขึ้น เส้นทางที่ Router จะต้องให้ความสนใจเป็นลำดับแรกได้แก่ เส้นทางที่เชื่อมต่อกับ เครือข่ายปลายทางโดยตรง
    ทำการ แพร่กระจายข่าวสารเกี่ยวกับเครือข่ายที่มันรู้จักไปทั่วเครือข่ายทุกเครือข่าย ที่เชื่อมต่อกับมันโดยตรง
    RIP จะรับฟังการแพร่ข่าวสาร โดยข่าวสารที่ใช้แพร่กระจายไปทั่ว (Broadcast) นี้ เป็นข่าวสารเพื่อการปรับปรุงเส้นทาง
    การรับฟังการแพร่ข่าวสารไปทั่วของ Router เพื่อนบ้าน จะทำให้ Router ที่กำลังรับฟังอยู่ สามารถล่วงรู้เส้นทาง ไปสู่เครือข่าย อื่นๆ ที่ตนเองไม่รู้มาก่อน
    RIP ใช้ค่า Metric ประเภท Hop โดยอาศัยค่าที่แสดงจำนวน Hop เป็นหลักเกณฑ์ จำนวนของ Hop ที่ Router นับได้ต้องไม่เกิน 15 Router ตลอดเส้นทางที่จะเดินทางผ่าน
    Router ที่เชื่อมต่อระหว่างกัน จะถือว่า ต่างก็เป็น Hop หนึ่งในตารางเส้นทางของตนเอง


    การใช้ค่า Metric ของ RIP
    จำนวนของ Hop ที่ใช้เดินทางไปสู่ปลายทาง หมายถึง จำนวนของ Router ที่ Packet จะต้องเดินทางผ่าน ไปสู่เครือข่ายปลายทาง
    เส้นทางเดินที่ดีที่สุด ไม่ได้หมายความว่า Router จะได้เส้นทางที่ดีที่สุด เสมอไป
    ตัวอย่าง เช่น เพื่อให้ Router A เดินทางไปสู่ Router B ตัว RIP จะเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อความเร็ว 56K แทนที่จะเลือก เส้นทางความเร็วสูงกว่า อย่างเช่น 1.5 Mbps เนื่องจากว่า Router A เห็นว่า การเดินทางไปสู่ B โดยผ่าน Router C เป็นการใช้ 2 Hop โดยไม่สนใจว่า การเดินทางอ้อมผ่านทาง Router C จะมีความรวดเร็วกว่า

    การเกิดปัญหา Routing Loop
    Triggered Update หมายถึงการปรับปรุงตารางเส้นทางทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงคิวหรือถึงเวลาการปรับปรุงเสียก่อน)
    การเกิดปัญหา Routing Loop
    RIP คือการที่ Router ไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจภาพรวมของเครือข่ายทั้งหมด
    เป็นเรื่องของ Packet ที่วิ่งกลับไปกลับมาระหว่าง Router 2 ตัวหรือมากกว่า โดยไม่สามารถหลุดออกไปจากวงจรสะท้อนกลับไปกลับมานี้ได้ บางครั้งฝรั่งเรียกลักษณะนี้ว่า Count to Infinity

    URL


    Routing Protocol - วิกิพีเดีย
    Routing Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router ...
    th.wikipedia.org/wiki/Routing_Protocol - แคช - ใกล้เคียง

    PPT] Routing Protocal
    รูปแบบไฟล์: Microsoft Powerpoint - ดูในรูปแบบ HTML
    BGP (Border Gateway Protocol) เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Exterior Gateway Routing ที่ใช้เพื่อการเชื่อมต่อ Router และเครือข่ายที่อยู่ต่างโดเมนDomain ...
    wiki.nectec.or.th/.../SompongWankham_Deliverabe?...Routing... - ใกล้เคียง

    วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ 20 ข้อเรื่องเราเตอร์

    ข้อสอบ 20 ข้อเรื่องเราเตอร์
    1.เราเตอร์จะมองและแบ่งเครือข่ายออกเป็นส่วน ๆ เรียกว่า อะไร
    ก. network C
    ข. Segment
    ค. routing table
    ง. static route

    ตอบข้อ ข เซกเมนต์ (Segment) พร้อมทั้งกำหนดตัวเลขแอดเดรส (Address) เพื่อให้เป็นตำแหน่งที่อยู่ การกำหนดแอดเดรสของเครือข่ายแต่ละเซกเมนต์และคอมพิวเตอร์แต่ละตัวนั้นจะช่วยให้เราเตอร์

    2.การแบ่งประเภทของ routing algorithm ออกเป็นกี่ประเภท
    ก.1
    ข.3
    ค.2
    ง.4

    ตอบข้อ ค 2 ประเภทคือ interior routing protocol และ exterior routing protocol

    3.ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล ใดเอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล
    ก. routing table
    ข. static route
    ค. network C
    ง. Segment

    ตอบข้อ ก routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก

    4.ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย มีไม่เกิน กี่เมตร
    ก.500 เมตร
    ข.100 เมตร
    ค.250 เมตร
    ง.200 เมตร

    ตอบข้อ ง 200 เมตร ท่านควรใช้ Router ที่ทำจาก Server เนื่องจากว่าราคาถูก อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อกันได้ โดยใช้สาย UTP

    5.ในกรณีที่ท่านต้องการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ท่านควรพิจารณาเลือกใช้ layerใด
    ก. Layer 4 Switching Hub
    ข. Layer 2 Switching Hub
    ค. Layer 3 Switching Hub
    ง. Layer 1 Switching Hub

    ตอบข้อ ค Layer 3 Switching Hub แทน เนื่องจากอัตราความเร็ว รวมทั้งปริมาณของข้อมูลข่าวสารที่ข้ามไปมาหลายเครือข่ายสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

    6.โดยทั่วไปหากวิ่งที่ 100 Mbps แต่ละพอร์ตของ Switches จะสามารถส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบของเฟรมได้มากถึงกี่เฟรมต่อวินาที
    ก.190,000 เฟรมต่อวินาที
    ข.148,000 เฟรมต่อวินาที
    ค.145,000 เฟรมต่อวินาที
    ง.140,000 เฟรมต่อวินาที

    ตอบข้อ ข 148,000 เฟรมต่อวินาที โดยหากเทียบกันกับ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์แล้ว Layer 3 Switching จะเร็วกว่ากันมาก

    7.ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องพีซีทั่วไป โดยระบบปฏิบัติการของ Router เราเรียกว่า
    ก. Cisco IOS
    ข. Layer
    ค. Cisco
    ง. Switching

    ตอบข้อ ก Cisco IOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่จะทำให้ท่านสามารถ จัดตั้งค่า Configuration รวมทั้งการบริหารจัดการ Router รวมทั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อกับ Router ของ Cisco ได้โดยสะดวก

    8.ข้อใดเป็นคำสั่งที่ใช้แสดงการจัด Configuration ของระบบ Hardware
    ก.show Version
    ข. show Memory
    ค. show Protocols
    ง. show Processes

    ตอบข้อ ก show Versionเป็นคำสั่งที่ใช้แสดงการจัด Configuration ของระบบ Hardware เช่น Version ของ Software ที่ใช้ใน Router ชื่อของ Configuration File อันเป็นต้นฉบับ รวมทั้ง Boot Images

    9.เครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายส่งข้อมูลแบบ coaxial cable ได้ Router มีการทำงานในระดับชั้นที่เท่าใด
    ก.2
    ข.3
    ค.4
    ง.5

    ตอบข้อ ข ระดับชั้นที่ 3 ของ OSI คือ Network Layer และสามารถรับส่งข้อมูลที่เป็นกลุ่มข้อมูลหรือ Frame จากต้นทางไปยังปลายทางได้

    10. คำสั่งที่ใช้เคลียร์ หน้าที่การทำงานต่างๆออกทั้งหมดคือ
    ก. Connect
    ข. Clock
    ค. Clear
    ง. Configure

    ตอบข้อ ค Clear

    11.หมายเลข IP address ที่มีให้ใช้งานใกล้จะหมด เนื่องจาก IPv4 มีขนาด กี่บิต
    ก. 30 บิต
    ข. 32 บิต
    ค. 33 บิต
    ง. 34 บิต

    ตอบข้อ ข 32 บิต ทำให้สามารถกำหนดค่า IP address ได้ไม่เพียงพอสำหรับอนาคต ทำให้ไม่สามารถขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อีกต่อไป

    12.ในการติดต่อโดยโปรโตคอล IPv6 สามารถกำหนดลักษณะการทำงานได้กี่แบบ
    ก.2
    ข.5
    ค.3
    ง.7

    ตอบข้อ ค 3 แบบ คือ unicast, multicast และ ancycast

    13. คำสั่งใดใช้เพื่อทดสอบการเชื่อมต่อ
    ก. Ping
    ข. rlogin
    ค. mtrace
    ง. resume

    ตอบข้อ ก Ping

    14. อุปกรณ์ Router มีหน้าที่ทำอะไร
    ก.ส่งข้อมูล
    ข.รับข้อมูล
    ค.เชื่อมโยงเครือข่ายที่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน
    ง.จัดเก็บข้อมูล

    ตอบข้อ ค เชื่อมโยงเครือข่ายที่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน ไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะต่างหรือเหมือนกันในด้านกายภาพก็ตาม

    15.หมายเลข IP address ทุกค่าจะมีรูปแบบที่เขียนให้เข้าใจเหมือนกันคือ เป็นตัวเลขกี่ชุด
    ก.2 ชุด
    ข.3 ชุด
    ค.6 ชุด
    ง.4 ชุด

    ตอบข้อ ง 4 ชุดคั่นด้วยจุด เพื่อให้อ่านและจกจำได้ง่าย IP address มีขนาด 32 บิต เช่น 204.283.255.20 เป็นต้น

    16.เครือข่ายที่มีหมายเลขไอพีแอดเดรส 192.168.30.0 ออกเป็นเครือข่ายย่อยๆ (Subnet) จำนวน กี่เครือข่าย
    ก.5 เครือข่าย
    ข.6 เครือข่าย
    ค.7 เครือข่าย
    ง.8 เครือข่าย

    ตอบข้อ ข 6 เครือข่าย จากนั้นนำมาเชื่อมต่อกัน เพื่อการสื่อสารกันด้วย Router


    17.ปริมาณข้อมูลข่าวสารมีขนาดเล็กหรือปานกลางวิ่งที่ความเร็วไม่เกินกี่ mbps
    ก.100 mbps
    ข.150 mbps
    ค.300 mbps
    ง.200 mbps

    ตอบข้อ ก 100 Mbps และมีราคาถูก ท่านควรเลือกใช้ Router ที่ทำจากเซิร์ฟเวอร์เช่นกัน

    18.ระยะทางการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ต่างก็ใช้ Switching Hub มาเชื่อมต่อกับเครือข่าย ได้ไกลกี่กิโลเมตร
    ก.4 กิโลเมตร
    ข.3 กิโลเมตร
    ค.2 กิโลเมตร
    ง.1 กิโลเมตร

    ตอบข้อ ค 2 กิโลเมตร (หากกำหนดให้ Switches ทั้งหมดทำงานเป็น Full Duplex)

    19.รูปแบบการเชื่อมต่อแบบนี้ท่านไม่จำเป็นต้องใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) แต่ท่านสามารถใช้ วิธีการ Routing แบบ ที่เรียกว่าว่าอะไร
    ก. Static
    ข. Hybrid
    ค. Spoke
    ง. Hub

    ตอบข้อ ก Static แทน ซึ่งวิธีนี้ มีประสิทธิภาพดีกว่าการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทาง อีกทั้ง Router ที่ใช้มีขนาดเล็ก ราคาถูก ติดตั้งง่าย

    20.การเชื่อมต่อแบบ Mesh สามารถมีได้กี่รูปแบบ
    ก. 3 รูปแบบ
    ข. 2 รูปแบบ
    ค. 4 รูปแบบ
    ง. 5 รูปแบบ

    ตอบข้อ ข 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบ Partial หรือ Semi Mesh และแบบ Full Mesh

    Router ข้อสอบ 60 ข้อ

    แบบทดสอบระบบการสื่อสารข้อมูล 60 ข้อRouter

    1.ข้อใดคือ 11001010.00011101.00111001.00000010
    ก.202.50.5.3
    ข.202.53.3.2
    ค.202.29.57.2
    ง.202.29.5.2
    เฉลย ง. มาจาก 128+64+8+2.16+8+4+1.32+16+8+1.2 จะได้ = 202.29.5.2

    2.ข้อใดคือ 01111101.00011000.10011011.01000010
    ก.125.20.155.66
    ข.125.24.155.66
    ค.125.50.15.66
    ง.120.25.55.58
    เฉลย ข มาจาก 64+32+16+8+4+1.16+8.128+16+8+2+1. 128+2=125.24.155.66

    3.42.58.5.29 คือ IP Class อะไร
    ก.A
    ข.B
    ค.C
    ง.D
    เฉลย A เพราะ IP Class A เริ่มที่ 0-126 หรือ 127

    4. IP Class A รองรับได้กี่ hosts
    ก.2^24hosts
    ข.2^16 hosts
    ค.2^14 hosts
    ง.2^8 hosts
    เฉลย ก จากNetwork mask Class A = 255.0.0.0= 255.00000000.00000000.00000000 หา hostsโดยนำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2=2^24

    5. .IP Private Class C รองรับได้กี่ hosts
    ก.2^10 hosts
    ข.2^16 hosts
    ค.2^14 hosts
    ง.2^8 hosts
    เฉลย ง จากNetwork mask Class C = 255.255.255.0= 255.255.255.00000000 หา hostsโดยนำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2=2^8

    6.คลาสของ Network ข้อใดคือ Class A
    ก.N.N.N.H
    ข.N.H.H.H
    ค.N.H.N.H
    ง.H.H.H.N
    เฉลย ข เพราะ Network mask Class A = 255.0.0.0 = 255 คือหมายเลข Subnet markแทนด้วยN 0 คือ hostsแทนด้วย H

    7.คลาสของ Network ข้อใดคือ Class C
    ก.N.N.N.H
    ข.N.H.H.H
    ค.N.H.N.H
    ง.H.H.H.N
    เฉลย ก Network mask Class C = 255.255.255.0 = 255 คือหมายเลข Subnet markแทนด้วยN 0 คือ hostsแทนด้วย H

    8. Private IP Addresses Class B คือ
    ก.192.168.0.0 through 192.168.255.255
    ข.172.16.0.0 through 172.16.255.255
    ค.10.0.0.0 through 10.255.255.255
    ง.172.16.0.0 through 173.31.255.255
    เฉลย ค 10.0.0.0 through 10.255.255.255


    9. Broadcast Address Class C คือ
    ก.192.168.0.0 through 192.168.255.255
    ข.172.16.0.0 through 172.16.255.255
    ค.10.0.0.0 through 10.255.255.255
    ง.172.16.0.0 hrough 173.31.255.255
    เฉลย ง 172.16.0.0 through 173.31.255.255

    10. ข้อใดคือ Private IP Address
    ก.12.0.0.1
    ข.172.20.14.36
    ค.168.172.19.39
    ง.172.33.194.30
    เฉลย ข 172.20.14.36

    11. Subnet mask ของ / 17 คือ
    ก.255.255.128.0
    ข.255.248.0.0
    ค.255.255.192.0
    ง.255.255.248.0
    เฉลย ก 255.255.128.0
    จาก Subnet mask ของ / 17 คือ 11111111.11111111.10000000.00000000

    12. Subnet mask ของ / 25 คือ
    ก.255.255.128.0
    ข.255.255.255.128
    ค.255.255.255.0
    ง.255.255.255.240
    เฉลย ข 255.255.255.128
    จาก Subnet mask ของ / 25 คือ 11111111.11111111.11111111.10000000

    13. Subnet mask ของ / 20 คือ
    ก.255.255.240.0
    ข.255.240.0.0
    ค.255.255.255.240
    ง.255.192.0.0
    เฉลย ก.255.255.240.0
    จาก Subnet mask ของ / 20 คือ 11111111.11111111.11110000.00000000

    14. Network maskของ Class B คือ
    ก.255.0.0.0
    ข.255.255.0.0
    ค.255. 255.255.0
    ง.ถูกเฉพาะข้อ ข
    เฉลย ข. 255.255.0.0
    จาก Network maskของ Class B คือ 11111111.11111111.00000000.00000000

    15. Network maskของ Class C คือ
    ก.255.0.0.0
    ข.255.255.0.0
    ค.255. 255.255.0
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ค 255. 255.255.0
    จาก Network maskของ Class C คือ 11111111.11111111.11111111.00000000

    16.สัญลักษณ์ของการ mask คือ
    ก. #
    ข.\
    ค..
    ง. /
    เฉลย ง /


    17.CIDR คือ
    ก. การจัดสรร Subnet แบบไม่แบ่งคลาส
    ข.การจัดสรร IP แบบไม่แบ่งคลาส
    ค.การหาเส้นทางแบบไม่แบ่งคลาส
    ง.การจับรอดแคแบบสัญญาณข้อมูลแบบไม่แบ่งคลาส
    เฉลย ก. การจัดสรร Subnet แบบไม่แบ่งคลาส

    18.การแบ่ง subnetแบบ mask 3bit ของ Class C มี CIDR เท่ากับ
    ก./21
    ข./25
    ค./27
    ง./29
    เฉลย ค/27
    จาก การแบ่ง subnetแบบ mask 3bit ของ Class C มี CIDR เท่ากับ 11111111.11111111.11111111.11100000

    19.การแบ่ง subnetแบบ mask 5bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
    ก./15
    ข./17
    ค./19
    ง./21
    เฉลย ง /21
    จาก การแบ่ง subnetแบบ mask 5bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
    11111111.11111111.11111000.00000000

    20.การแบ่ง subnetแบบ mask 8bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ
    ก./16
    ข./20
    ค./24
    ง./27
    เฉลย ค/24 จาก การแบ่ง subnetแบบ mask 8bit ของ Class B มี CIDR เท่ากับ11111111.11111111.11111111.00000000

    21.การแบ่ง subnetแบบ mask 5 bit ของ Class A มี CIDR เท่ากับ
    ก./13
    ข./21
    ค./30
    ง.ผิดทุกข้อ
    เฉลย ก คือ Class A =11111111.11111000.00000000.00000000 1 bits = 13 ตัว

    22. จำนวน Host ของการ mask 4 bit ของ Class C เท่ากับเท่าใด
    ก. 2024 Hosts
    ข. 254 Hosts
    ค.18 Hosts
    ง. 14 Hosts
    เฉลย ง การ Mask 4 bit ของ Class C = 11111111.11111111.11111111.11110000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2 = 2^4-2 = 14 Host และรองรับได้ไม่เกิน 14 Host

    23.จำนวน Host ของการ mask 5 bit ของ Class C เท่ากับเท่าใด
    ก. 2 Hosts
    ข. 6 Hosts
    ค.14 Hosts
    ง. 30 Hosts
    เฉลย ข การ Mask 5 bit ของ Class C = 11111111.11111111.11111111.11111000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลังจะได้ ด้วยเลขฐาน2 = 2^3-2 = 6 Host และรองรับได้ไม่เกิน 6 Host

    24.จำนวน Subnet ของการ mask 4 bit ของ Class A เท่ากับเท่าใด
    ก. 2 Subnets
    ข. 6 Subnets
    ค. 14 Subnets
    ง. 30 Subnets
    เฉลย ค คือ Mask 4 bit ของ Class A = 11111111.11110000.00000000.00000000 นำ 4 bit มายกกำลังด้วยเลขฐาน2 = 2^4 – 2 = 14

    25.จำนวน Subnet ของการ mask 6 bit ของ Class B เท่ากับเท่าใด
    ก.14 Subnets
    ข.30 Subnets
    ค.62 Subnets
    ง.126 Subnets
    เฉลย ค คือ Mask 6 bit ของ Class B = 11111111.11111111.11111100.00000000 นำ 6 bit มายกกำลังด้วยเลขฐาน2 = 2^6 – 2 = 62

    26.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.224
    ก. 28 Hosts
    ข.32 Hosts
    ค.30 Hosts
    ง. 62 Hosts
    เฉลย ค 255.255.255.224 = 11111111.11111111.11111111.11100000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลัง ด้วยเลขฐาน2 = 2^5-2 = 30 Host และรองรับได้ไม่เกิน 30 Host

    27.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.192
    ก.28 Hosts
    ข.32 Hosts
    ค.30 Hosts
    ง.62 Hosts
    เฉลย ง คือ 255.255.255.192 = 11111111.11111111.11111111.11000000 นำเอา 0 ที่เหลือมายกกำลัง ด้วยเลขฐาน2 = 2^6-2 = 62 Host และรองรับได้ไม่เกิน 62 Host

    28.จำนวน Host ที่เชื่อมต่อได้สูงสุดของ 255.255.255.240
    ก. 4049 Hosts
    ข. 512 Hosts
    ค.1024 Hosts
    ง.128 Hosts
    เฉลย ก คือ

    29.ต้องการใช้ Subnet จำนวน 29 Subnet จะยืม (mask) จาก คลาส A เท่าไหร่
    ก.3
    ข.4
    ค.5
    ง.6
    เฉลย ค Mask 5 bit ของ Class A = 11111111.11111000.00000000.00000000 นำ 5 bit มายกกำลังด้วยเลขฐาน2 = 2^5 – 2 = 30 ซึ่งใกล้เคียงกว่า

    30.จากข้อที่ 29 Subnet mask ที่แสดงคือ
    ก.255.192.0.0
    ข.255.255.255.248
    ค.255.255.248.0
    ง.255.248.0.0
    เฉลย ง Mask 5 bit ของ Class A = 11111111.11111000.00000000.00000000 = 128+64+32+16+8+4+2+1.128+64+32+16+8 = 255.248.0.0

    31.ข้อใดไม่ใช่ Subnetwork ID สำหรับเครื่องที่ใช้ IP Address หมายเลข 200.10.68/28
    ก.200.10.5.56
    ข.200.10.5.32
    ค.200.10.5.64
    ง.200.10.5.0
    เฉลย ก.200.10.5.56
    subnet id > ip > network id
    .0 >> ip >> .15 .16 >> ip >> .31 .32 >> ip >> .47 .48 >> ip >> .63 .64 >> ip >> .79


    32.ข้อใดคือ Network Address ของหมายเลข 172.16.0.0/19
    ก.8 Subnet; 2,046 Hosts
    ข.8 Subnet; 8,192 Hosts
    ค.7 Subnet; 30 Hosts
    ง.7 Subnet; 62 Hosts
    เฉลย ข. 2^13 = 8192

    33.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address หมายเลข 172.16.210.0/22
    ก.172.16.208.0
    ข.172.16.254.0
    ค.172.16.107.0
    ง.172.16.254.192
    เฉลย

    34.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 201.100.5.68/28
    ก.201.100.5.31
    ข.201.100.5.64
    ค.201.100.5.65
    ง.201.100.51
    เฉลย ข. 201.100.5.64
    subnet id > ip > network id
    .0 >> ip >> .15
    .16 >> ip >> .31
    .32 >> ip >> .47
    .48 >> ip >> .63
    .64 >> ip >> .79

    35.ข้อใดคือ Subnet ของ IP Address 172.16.112.1/25
    ก.172.16.112.0
    ข.172.16.0.0
    ค.172.16.96.0
    ง.172.16.255.0
    เฉลย ก.172.16.112.0

    การกำหนด IP Address 192.168.1.1/28 จงคำนวณหา Subnetwork ID IP Usage และBroadcast แล้วตอบคำถาม

    36.หมายเลขใดไม่สามารถใช้ได้
    ก.192.168.1.13
    ข.192.168.1.226
    ค.192.168.1.31
    ง.192.168.1.253
    เฉลย ค.192.168.1.31

    37.หมายเลขใดเป็น subnetwork ID ของ Subnet ที่ 00001000
    ก.192.168.1.13
    ข.192.168.1.16
    ค.192.168.1.31
    ง.192.168.1.32
    เฉลย ง.192.168.1.32

    38.หมายเลขใดเป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 000010000
    ก.192.168.1.13
    ข.192.168.1.226
    ค.192.168.1.31
    ง.192.168.1.253
    เฉลย ค.192.168.1.31

    39.หมายเลขใดเป็น subnetwork ID ของ Subnet ที่ 001100000
    ก.192.168.1.63
    ข.192.168.1.45
    ค.192.168.1.48
    ง.192.168.1.111
    เฉลย ค.192.168.1.48



    กำหนด IP Address 192.168.1.1/28 จงคำนวณหา Sub Network ID , IP Usage และBroadcast แล้วตอบคำถาม
    จาก /28
    11111111.11111111.11111111.11110000
    Subnet = 8
    Hosts = 14 ( 2 ^4 = 16 -2 = 14 Hosts )

    Net ID IP Usage Broadcast ID
    0 1-14 15
    16 17-30 31
    32 33-46 47
    48 49 -62 63
    64 63-78 79
    80 81-94 95
    96 97 - 110 111

    ตารางที่ 1 แสดงการหาค่า Sub Network ID , IP Usage และ Broadcast ID ของ /28

    40.หมายเลขใดเป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 001100000
    ก.192.168.1.63
    ข.192.168.1.45
    ค.192.168.1.48
    ง.192.168.1.100
    เฉลย ก. 192.168.1.63 อธิบาย
    (อ้างอิงจากตารางที่ 1)

    41.หมายเลขใดเป็น Broadcast ID ของ Subnet ที่ 001100000
    ก.192.168.1.50
    ข.192.168.1.96
    ค.192.168.1.81
    ง.192.168.1.10
    เฉลย ก. 192.168.1.50อธิบาย
    (อ้างอิงจากตารางที่ 1)

    กำหนด IP Address 192.168.1.1/27 จงคำนวณหา Subnetwork ID , IP Usage และBroadcast แล้วตอบคำถาม
    จาก /27
    255.255.255.224
    Subnet = 6
    Hosts = 30 ( 2 ^5 = 30 Hosts )

    Net ID IP Usage Broadcast ID
    0 1-30 31
    32 33-62 63
    64 65-94 95
    96 97-126 127
    128 129-158 159
    160 161-190 191
    192 193-223 223
    224 225-254 255

    ตารางที่ 2 แสดงการหาค่า Sub Network ID , IP Usage และ Broadcast ID ของ /27

    42.ข้อใดไม่เข้าพวก
    ก.192.168.1.1
    ข.192.168.1.95
    ค.192.168.33
    ง.192.168.1.124
    เฉลย ข . 192.168.1.95 อธิบาย
    เพราะ ข้อ ก, ค , ง เป็น IP Usage แต่ ข้อ ข. เป็น Broadcast ID ซึ่งแตกต่างจากกลุ่ม
    (อ้างอิงจากตารางที่ 2)

    43.ข้อใดไม่เข้าพวก
    ก.192.168.1.0
    ข.192.168.1.96
    ค.192.168.32
    ง.192.168.1.159
    เฉลย ง. 192.168.1.159 อธิบาย
    เพราะข้อ ก ,ข ,ค เป็น Net ID แต่ข้อ ง. เป็น Broadcast ID ซึ่งแตกต่างจากกลุ่ม
    (อ้างอิงจากตารางที่ 2)

    44.หมายเลขใดไม่สามารถใช้ได้
    ก.192.168.1.193
    ข.192.168.1.161
    ค.192.168.1.127
    ง.192.168.1.60
    เฉลย ค. 192.168.1.127 อธิบาย
    เพราะ ข้อ ค. เป็น Broadcast ID

    45.ข้อใดคือ IP Usage ของ Sub Network IP 192.168.1.96
    ก.192.168.1.0 – 192.168.1.31
    ข.192.168.1.65.192.168.1.94
    ค.192.168.1.97- 192.168.1.126
    ง.192.168.1.95- 192.168.1.127
    เฉลย ค. 192.168.1.97- 192.168.1.126 (อ้างอิงจากตารางที่ 2)

    จงใช้ภาพข้างล่างนี้ตอบคำถามข้อ 46-50
    กำหนดให้ IP Private Network Class C 192.168.1.1

    46. Net_D ควรใช้ / อะไร
    ก./26
    ข./27
    ค./28
    ง./29
    เฉลย ข้อ ข. /27 อธิบาย
    จากโจทย์ Net_D รองรับ 25 Hosts
    /27 เขียน Suubnet mask ได้ 11111111.11111111.11111111.11100000
    Host = 2^5 = 32 – 2 = 30 Host (ซึ่งใกล้เคียงและสามารถรองรับ Net_D ได้)

    47. จาก Network ข้างต้น ใช้ Subnetwork อะไรจึงรองรับได้ทุก Network
    ก. /26
    ข./27
    ค./28
    ง./29
    เฉลย ข้อ ก. /26 อธิบาย
    จากโจทย์ Network รองรับได้สูงสุดที่ 50 Hosts
    /26 เขียน Subnet mask ได้ 11111111.11111111.11111111.11000000
    Host = 2^6 = 64 – 2 = 62 Host ( ซึ่งใกล้เคียงและสามารถรองรับ Network ได้ทั้งหมด)

    48. Net_ C มี หมายเลข Subnet mask อะไร
    ก.255.255.255.192
    ข.255.255.255.254
    ค.255.255.255.248
    ง.255.255.255.252
    เฉลย ข้อ ง.255.255.255.252 อธิบาย
    จากโจทย์ Net_ C รองรับได้ 2 Hosts
    Subnet mask 255.255.255.252 หรือ 11111111.11111111.11111111.11111100
    Host = 2^2 = 4 – 2 = 2 Host ( ซึ่งสามารถรองรับ Net_C ได้)

    49. Net_ B มีหมายเลข Subnet mask อะไร
    ก.255.255.255.192
    ข.255.255.255.254
    ค.255.255.255.248
    ง.255.255.255.252
    เฉลย ข้อ ก.255.255.255.192 อธิบาย
    จากโจทย์ Net_B รองรับได้ 50 Hosts
    Subnet mask 255.255.255.192 หรือ 11111111.11111111.11111111.11000000
    Host = 2^6 = 64 – 2 = 62 Host (ซึ่งใกล้เคียงและสามารถรองรับ Net_B ได้)

    50.หากใช้ /26 หมายเลข Sub Network IP ของ Network สุดท้ายคือ
    ก.192.168.1.128
    ข.192.168.1.192
    ค.192.168.1.191
    ง.192.168.1.255
    เฉลย ข.192.168.1.192

    51.จากภาพด้านบนเกิดการใช้คำสั่งใด
    ก. Arp-a
    ข.Net stat
    ค.NSlookup
    ง.tracert
    เฉลย netstat

    52จากภาพด้านบนเกิดหารใช้คำสั่งใด

    ก. Arp-a
    ข. Net stat
    ค. NSlookup
    ง. Ipconfig/all
    เฉลย Arp –a
    ที่มา http://dbsql.sura.ac.th/know/nt/chap8.htm

    53.จากภาพด้านบนเกิดหารใช้คำสั่งใด
    ก. .tracert-a
    ข. Net stat
    ค. NSlookup
    ง. Ipconfig/all
    เฉลย nslookup
    ที่มา http://monetz.myfri3nd.com/blog/2008/05/07/entry-7

    54.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู Computer Name คือ
    ก. ipconfig
    ข.nslookup
    ค.hostname
    ง.tracert
    เฉลย hostname
    ที่มา http://www.geocities.com/naphasoan/do9.html

    55.การใช้คำสั่งตรวจสอบดู IP และ subnet mask คือ
    ก.ipconfig
    ข.nslookup
    ค.hostname
    ง.tracert
    เฉลย ipconfig
    ที่มา http://www.siamfocus.com/content.php?slide=14&content=37

    56.การตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางกับปลายทางคือ
    ก.ipconfig
    ข.nslookup
    ค.hostname
    ง.tracert
    เฉลย tracert
    ที่มา http://optimalcom.blogspot.com/2009/06/dos-network.html

    57.Destination Host Unreachable หมายความว่า
    ก.ติดตั้งIP ที่ Host ไม่ถูกต้อง
    ข.ติดตั้ง Card LAN ไม่ถูกต้อง
    ค.Host ไม่ถูกเชื่อมต่อกับเครื่อง PING
    ง. Host ไม่ถูกเชื่อมต่อกับระบบ
    เฉลย ติดตั้ง ip ไม่ตถูกต้อง
    ที่มา http://www.thaiadmin.org/board/index.php?topic=48733.0

    58. Tracert คือ
    ก.การหาเส้นทางการเชื่อมต่อจากต้นทางไปปลายทาง
    ข.การหาเส้นทางการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
    ค.การตรวจสอบระบบสถานะของระบบเครือข่าย
    ง.ตรวจสอบความผิดพลาดของ Packet
    เฉลย ก.
    ที่มา http://optimalcom.blogspot.com/2009/06/dos-network.html


    59. การเข้าหน้า cmd ทำอย่างไรในครั้งแรก
    ก.Start>run>cmd
    ข.start>run>command
    ค.start>allprogram>accessories>command prompt
    ง.ถูกทุกข้อ
    เฉลย ง

    60.ARP (Address Resolution Protocol)หรือหมายเลข LAN card มีกี่ ไบต์
    ก.6 Byte
    ข.16 Byte
    ค.8 Byte
    ง.32 Byte
    เฉลย ก

    วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ 7 ข้อ Ethernet

    ข้อสอบ 7 ข้อ Ethernet

    1. องค์กรที่พัฒนามาตรฐานสากลในเรื่องของการสื่อสารข้อมูล คือ ?
    ก. ISO
    ข. OSI
    ค. EIA
    ง. IEEE
    ตอบ ง. IEEE IEEE เป็นองค์กรที่ได้สร้างมาตรฐานสากลหลากหลายมาตรฐาน ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ และ IEEE ได้กำหนดมาตรฐาน IEEE 802 สำหรับ LAN ซึ่งมาตรฐานนี้ จะอธิบายถึง LAN แบบ CSMA/CD, Token Bus และ Token Ring ซึ่งเป็น LAN ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย

    2.การ Interface ของระดับชั้น LLC จะให้บริการแก่ระดับชั้น Network Layer มีกี่รูปแบบ ?
    ก. 2
    ข. 3
    ค. 4
    ง.ถูกทุกข้อ
    ตอบ ข. 3.รูปแบบ คือ การ Interface ของระดับชั้น LLC จะให้บริการแก่ระดับชั้น Network Layer 3 รูปแบบคือ
    1) การบริการแบบดาต้าแกรมที่ไม่ประกันข่าวสาร (unreliable datagram service)
    2) การบริการแบบดาต้าแกรมที่มีเฟรมตอบรับ (acknowledged datagram service)
    3) การบริการการสื่อสารที่รับประกันข่าวสาร (Connection-oriented service)

    3. IEEE ย่อมาจากอะไร ?
    ก. Institute of Electrical and Electronics Engineers
    ข. Institute of Electrical Electronics Engineers
    ค. ข้อ ก และ ข ถูก
    ง. ไม่มีข้อถูก
    ตอบ ก. Institute of Electrical and Electronics Engineers
    IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) เป็นองค์กรที่ได้สร้างมาตรฐานสากลหลากหลายมาตรฐาน

    4.โครงสร้างของเฟรมของ LAN 802.3 แบ่งเป็นกี่ส่วน ?
    ก. 2 ส่วน
    ข. 4 ส่วน
    ค. 6 ส่วน
    ง. 8 ส่วน
    ตอบ ง. 8 ส่วนได้แก่
    1) Preamble 2) Start of frame
    3) Destination address 4) Source address
    5) Length of data field 6) Data

    7) Pad 8) Checksum
    5. Data คือส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บได้ตั้งแต่กี่ไบต์ถึงกี่ไบต์ ?
    ก. 0 ถึง 1000 ไบต์
    ข. 0 ถึง 1500 ไบต์
    ค. 0 ถึง 2000 ไบต์
    ง. ไม่มีข้อที่ถูกต้อง
    ตอบ ข. Data คือส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลสามารถเก็บได้ตั้งแต่ 0 ถึง 1500 ไบต์

    6. มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัทอะไร ?
    ก. บริษัท Xerox
    ข. บริษัท IBM
    ค. บริษัท Microsoft
    ง. ข้อ ก.และ ค. ถูก
    ตอบ ก. มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่า “มีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ” ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps และใช้สายส่งชนิดต่างๆ

    7. 10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบใด ?
    ก. รูปตัว U
    ข. รูปตัว Y
    ค. รูปตัว T
    ง. รูปตัว X
    ตอบ ค. 10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบ BNC ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว T

    URL
    http://www.geocities.com/seeis_224/Internet12.htm

    ข้อมูล IEEE 802.3 Bus topology

    IEEE 802.3 Bus topology

    มาตรฐาน 802.3 พัฒนามาจากระบบอะโลฮ่า เริ่มจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายในบริษัท โดยมีความยาวของเครือข่ายได้ถึง 1กิโลเมตร และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 2.94 Mbps ซึ่งระบบนี้เรียกว่า อีเทอร์เน็ต (Ethernet เป็นชื่อที่ได้มาจากความเชื่อ ที่ว่า “มีสสารตัวหนึ่งที่ชื่อว่า ether ซึ่งมีอยู่ในอวกาศเป็นตัวกลางสำหรับการแพร่กระจายของแสงในอวกาศ ” ต่อมาบริษัท Xerox ,DEC,Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งมีอัตราการส่ง 10 Mbps ซึ่งกลายเป็นมาตรฐาน IEEE 802.3 ในปัจจุบัน ซึ่งมาตรฐาน 802.3 นี้จะอธิบายถึงแลนทั้งหมดที่ใช้หลักการ CSMA/CD ที่มีอัตราการส่งข้อมูลตั้งแต่ 1 – 10 Mbps และใช้สายส่งชนิดต่างๆดังนี้


    10Base2 หรือ Thin Ethernet ใช้สายโคแอกเชียลชนิดอ่อนดัดง่ายเป็นสื่อส่งข้อมูล การเชื่อมเข้าสู่สายเคเบิลนี้ใช้หัวต่อแบบ BNC ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัว Tการทำงาน ตัวรับส่งสัญญาณจะอยู่บนอินเตอร์เฟสบอร์ดของแต่ละโหนด ใช้รับส่งสัญญาณที่โหนดของตนเองซึ่งต่างกับ 10Base5ที่อาจมีการใช้ตัวรับส่งสัญญาณร่วมกันระหว่างหลายสถาน10Base5 หรือ Thick Ethernet เป็นสายสีเหลืองและมีเครื่องหมายกาทุก 2.5 เมตร แสดงจุดที่จะเจาะเพื่อเกาะTransciever (ตัวรับส่งสัญญาณของแลนการ์ด)การทำงาน ทรานซีฟเวอร์หรือตัวรับส่งสัญญาณจะมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถตรวจสอบสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสายว่าว่างหรือไม่ และตรวจสอบการชนกันของสัญญาณในสาย หากตรวจพบว่ามีการชนกันของสัญญาณในสาย ตัวรับส่งสัญญาณจะส่งสัญญาณพิเศษลงในสายเพื่อให้ตัวรับส่งสัญญาณรู้ด้วยว่ามีการชนกันของสัญญาณ สายของตัวรับส่งสัญญาณซึ่งยาวได้ถึง 50 เมตร จะเป็นตัวนำสัญญาณข้อมูลตลอดจนสัญญาณควบคุมส่งไปมาระหว่างตัวส่งสัญญาณกับอินเตอร์เฟสบอร์ด สำหรับอินเตอร์เฟสบอร์ดจะมีชิปควบคุมซึ่งจะรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องของเฟรม พร้อมกับคำนวณผลรวมตรวจสอบแล้วส่งออกไป ส่วนการรับข้อมูล ชิปจะตรวจหาขอบเขตของเฟรมและคำนวณผลรวมตรวจสอบเพื่อตรวจความถูกต้องของข้อมูล อินเตอร์เฟต สบอร์ดบางตัวจะมับัฟเฟอร์สำหรับเก็บเฟรมข้อมูลเข้าออก และอาจมี DMA ( Direct Memory Access)ในการรับส่งข้อมูลโดยตรงกับหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างบอร์ดกับคอมพิวเตอร์ สายทั้งสอง มีปัญหาที่สำคัญคือ หากสายเคเบิลขาดหรือหัวต่อหลวมจะทำให้สัญญาณไฟฟ้าภายในสะท้อนอยู่ในสาย ทำให้การทำงานของระบบเสียหาย เราสามารถตรวจสอบคุณภาพของาสายได้โดยการส่งสัญญาณออกไปแล้ววัดระยะเวลาที่ส่งไปกับสะท้อนกลับมาถ้าไม่เท่ากันแสดงว่าสายนั้นเสียหายแล้ว จึงมีการคิดค้นสายแบบใหม่คือ10Base-T ใช้สายคู่ตีเกลียวแบบเดียวกับสายโทรศัพท์ สายจากโหนดจะต่อเข้ากับ Hub ทำให้สามารถเพิ่มหรือลดโหนดในขณะทำงานอยู่ได้ หากสายขาดก็สามารถตรวจหาได้ง่าย ปกติจะส่งข้อมูลผ่านสายยาวถึงฮับได้ 100 เมตร แต่หากใช้สายคู่ตีเกลียวแบบ category 5 ส่งได้ถึง 150 เมตร 10Base-F ใช้เส้นใยแก้วนำแสงจึงทำให้ราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะหัวต่อและตัวหยุดสัญญาณ(Terminator) Terminator ใช้ติดที่ปลายสายเคเบิลเพื่อดูดสัญญาณไม่ให้ออกไปกระทบกับอากาศเพราะจะเกิดการสะท้อนกลับมารบกวนสัญญาณที่ส่งอยู่ ทนทานต่อคลื่นรบกวน ใช้เป็นแบ็กโบนเชื่อมระหว่างตึกหรือระหว่างฮับที่อยู่ห่างกัน ในกรณีที่ต้องการจะต่อแลนให้กว้างออกไปอีก สัญญาณที่ส่งจะเพี้ยนหรือเบาลงเนื่องจากระยะทางที่ไกลจึงต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ตัวทวนสัญญาณ (repeater)ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณที่ส่งมาแล้วทำการสร้างสัญญาณเดิมขึ้นมาใหม่แล้วทำการส่งต่อไป แต่เครื่อง 2 เครื่องต้องอยู่ห่างกันไม่เกิน 2.5 กิโลเมตร มีรีพีทเตอร์ไม่เกิน 4 ตัว ในเส้นทางเดียวกัน
    การเข้ารหัสสัญญาณไฟฟ้าของแลน 802.3
    เพื่อให้ฝั่งรับสามารถรับข้อมูล 1 หรือ 0 ได้ถูกต้องโดยไม่ต้องใช้สัญญาณจังหวะนาฬิกาจากภายนอกเข้ามาช่วย แลนแบบ 802.3 ใช้วิธีการเข้ารหัสสัญญาณแบบ แมนเชสเตอร์ (Manchester Encoding) วิธีนี้ช่วงเวลาของแต่ละบิตถูกแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเท่าๆกัน ในการแทนค่า 1 นั้นระดับไฟฟ้าของสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงจากสูงมาต่ำ และการแทนค่า 0 ระดับไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากต่ำไปสูง ระดับไฟฟ้าสูงมีค่า 0.85 โวลต์ และระดับไฟฟ้าต่ำมีค่า –0.85 โวลต์ เนื่องจากว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่าระดับไฟฟ้าที่ตรงกลางของแต่ละบิต จึงทำให้ฝั่งรับสามารถทำงานสอดคล้องกับฝั่งส่งได้โดยง่าย
    และยังมีการเข้ารหัสแบบดิฟเฟอเรนเชียลแมนเชสเตอร์(Differential ManchesterEncoding) ซึ่งมีการเปลี่ยนเฟสของสัญญาณทุกครั้งเมื่อบิตข้อมูลมีค่าเป็น 0 ส่งผลให้สัญญาณข้อมูลทนต่อคลื่นรบกวนได้มากว่าเดิม แต่ต้องใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนมากกว่า

    URL
    http://www.geocities.com/seeis_224/Internet12.htm

    วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ 5 เรื่อง Topology

    ข้อสอบ 5 เรื่อง Topology

    1 .ข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบกี่ทิศทาง ?
    ก. 2 ทิศทาง
    ข. 3 ทิศทาง
    ค. 4 ทิศทาง
    ง. 5 ทิศทาง

    ตอบ ก. ข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น

    ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

    2. เครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง ?
    ก. 1 ตัว
    ข. 2 ตัว
    ค. 3 ตัว
    ง. 4 ตัว

    ตอบ ก. เครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

    ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

    3.โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบใด ?
    ก. STAR , BUS
    ข. BUS , RING
    ค. STAR , BUS , RING
    ง. STAR , MESH

    ตอบ ค. โทโปโลยีแบบ Hybrid เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน

    ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

    4. การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณ ?
    ก. สัญญาณอินฟาเรด
    ข. สัญญาณไมโครเวฟ
    ค. สัญญาณนาฬิกา
    ง. สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์

    ตอบ ง. การส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโทโปโลยีแบบบัสนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปบนสายสัญญาณในรูปแบบของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสัญญาณนี้จะเดินทางไปถึงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับสื่อกลางบัส แต่เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีอยู่ตรงกับที่อยู่ของผู้รับที่อยู่ในข้อมูลเท่านั้น จึงจะนำข้อมูลนั้นไปทำการโพรเซสส์ต่อไป

    ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

    5. ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminater) จะทำหน้าที่ ?
    ก. กระจายสัญญาณ
    ข. รับสัญญาณ
    ค. ดูดกลืนสัญญาณ
    ง. ผิดทุกข้อ

    ตอบ ค. ตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminater) จะทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณเพื่อไม่ให้สะท้อนกลับ และจะถูกติดไว้ที่ปลายสัญญาณ การดูดกลืนสัญญาณนี้จะทำให้สัญญาณว่าง และพร้อมสำหรับการส่งข้อมูลอีกที่ปลายทั้งสองข้างของสายสัญญาณจะต้องเสียบเข้ากับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เน็ตเวิร์คการ์ด หรือตัวเชื่อมต่อ ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณให้มีระยะยาวขึ้น ปลายที่ไม่ได้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จะต้องติดตัวเทอร์มิเนเตอร์เพื่อป้องกันการสะท้อนกลับของสัญญาณ

    ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity7/topology.htm

    วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    ข้อมูลและข้อดีข้อเสียของ topologo bus ring star mesh

    1.โทโปโลยีแบบบัส (BUS) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น
    สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

    ข้อดี
    - ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

    ข้อเสีย
    - อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย

    ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5



    2.โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

    ข้อดี
    - ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
    - การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
    - คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน


    ข้อเสีย
    - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
    - ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง


    ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5


    3.โทโปโลยีแบบดาว (STAR) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

    ข้อดี
    - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

    ข้อเสีย
    - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

    ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5


    4.โทโปโลยีแบบ MESH เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก

    ข้อดี
    - เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด

    ข้อเสีย
    - ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง

    ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=64853036e92035a5

    วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ 10 ข้อ

    ข้อสอบ 10 ข้อ

    1. กระบวนการเพียร์ทูเพียร์โปรเซสคืออะไร?
    ก. กระบวนการสื่อสารของโปรโตคอลตั้งแต่ลำดับชั้นดาต้าลิงก์ ขึ้นไป
    ข. ดาต้าลิงก์
    ค. ทรานสปอร์ต
    ง. เน็ตเวิร์ก
    ตอบ ก. กระบวนการสื่อสารของโปรโตคอลตั้งแต่ลำดับชั้นดาต้าลิงก์ ขึ้นไประหว่างต้นทางกับปลายทางจะ
    เป็นกระบวนการสื่อสารที่เรียกว่า เพียร์ทูเพียร์โปรเซส

    2. การกำหนดชั้นฟิสิคอลแอดเดรด อยู่ในลำดับชั้นใด
    ก. ชั้นเน็ตเวิร์ก
    ข. ชั้นทรานสปอร์ต
    ค. ชั้นดาตาลิ้งก์
    ง. ชั้นฟิสิคัล
    ตอบ ค. เนื่องจากว่าเฟรมจะมีการส่งไปทั่วบนเครือข่ายจึงจำเป็นต้องรู้ว่าเฟรมนี้ถูกส่งมาจากที่ใดและให้ส่งไปที่ใดดังนั้นลำดับชั้นดาตาลิ้งก์จะมาบวกเฮดเดอร์

    3. การแบ่งเครือข่ายตามระดับแบ่งได้เป็นกี่ระดับ
    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3
    ง. 4
    ตอบ ข. 2 ระดับคือ เครือข่ายที่เป็นแกนหลัก และเครือข่ายย่อย

    4. เครือข่ายสวิตชิ่งแบ่งตามลักษณะของข้อมูลได้กี่แบบ
    ก. 2
    ข. 3
    ค. 5
    ง. 6

    ตอบ ข. 3 แบบ 1. แบบเซอร์กิตสวิตช์
    2. แบบแมสเสดสวิตช์
    3. แบบเพ็กเก็ตสวิตช์
    5. เครือข่ายการสื่อสารนั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?
    ก. 2
    ข. 3
    ค. 4
    ง. 5
    ตอบ ก. 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครือข่ายแบบสวิตช์ชิ่งและเครือข่ายแบบปรอดแคสท์

    6. การจัดรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายวีแซทมีกี่ลักษณะ
    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3
    ง. 4
    ตอบ ข. 2 ลักษณะ คือ การจัดรูปแบบดาวและการจัดรูปแบบตาข่าย

    7.ประเภทของเครือข่ายในปัจจุบันอ้างถึงประเภทเครือข่ายพื้นฐานกี่ประเภท
    ก. 3
    ข. 4
    ค. 5
    ง. 6
    ตอบ ก. 3 คือ 1 เครือข่ายท้องถิ่น
    2 เครือข่ายระดับเมือง
    3 เครือข่ายระดับประเทศ


    8. ปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นมีอยู่กี่ชนิด
    ก. 1
    ข. 2
    ค. 3
    ง.4
    ตอบ ค. 3 คือ 1. โทโพโลยีแบบบัส
    2. โทโพโลยีแบบดาว
    3. โทโพโลยีแบบวงแหวน

    9. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย( Topology ) มีกี่รูปแบบ
    ก. 3
    ข. 4
    ค. 5
    ง. 6
    ตอบ ก. 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 1. การเชื่อมแบบบัส
    2. การเชื่อมต่อแบบดาว
    3. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน

    10. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อ
    ก. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้น
    ข. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ใน ลำดับชั้นเดียว
    ค. ให้สามารถปฏิบัติงานได้ทั้ง ทุกลำดับชั้น และ ลำดับชั้นเดียว
    ง. ถูกทุกข้อ
    ตอบ ก. เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทุก ๆ ลำดับชั้นบนแบบจำลอง OSI

    คำศัพท์ระบบการสื่อสารข้อมูล

    คำศัพท์ระบบการสื่อสารข้อมูล
    1. Back bone ระบบโครงข่ายหลัก
    2. Bace band ตัวกลางในการสื่อสาร
    3. Braod band สื่อกลางประเภทสายเคเบิล
    4. Dateway ประตูในการสื่อสาร
    5. Hatf-dupiex เป็นช่องทางการสื่อสารข้อมูลทั้งไปและกลับ
    6. Jpeg วิธีการอัดเจเพ็ก
    7. Mpeg ไฟล์ของภาพเคลื่อนไหว
    8. Icp/Ip การเชื่อมต่อหลายเส้นทาง
    9. Dsl ไม่สมดุลผ่านคู่ภาพสัญญาณเพียงคู่เดียว
    10. Address ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตสำหรือที่อยู่ของE-mail
    11. Browser โปรแกรมสำหรับใช่เล่น Internet
    12. Client ไดล์เอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปลายทาง
    13. DNS การแปลงชื่อโฮตของเครือข่ายไปเป็นแอดเดรด
    14. Dial up การติดต่อคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่าย
    15. Domain กลุ่มของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่บนเครือข่าย
    16. E-mail จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ใช่สำหรับรับส่งข้อมูลทางเครือข่าย
    17. Hub เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อภายในเครื่องไดล์เอินท์และเครื่องเซิร์ฟเวร์อเข้าด้วยกัน
    18. FTP เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโปรโตคอลอินเทอร์เน็ตและ Tcp/IP
    19. Extranet เป็นระบบเครือข่ายสำหรับผู้ใช่งานภายนอกระบบ
    20. Intranet เป็นระบบเครือข่ายภายในบริษัทหรือองค์การที่ใช่ประโยชน์จากเครื่องมือบางอย่าง
    21. Internet เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์เครือข่าย
    22. Homepage เอกสารหน้าแรก หน้าแนะนำตัวของ www ของ web site ต่างๆ
    23. Http เป็นโปรโตคอลที่ควบคุมการส่งเอกสารในรูปแบบต่างๆ
    24. Gufst Book ใช้สำหรับแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ web site นั่นๆที่คุณเข้า
    25. Interhhot เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ที่ต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์เครือข่าย
    26. IP Telephony เป็นระบบที่รวมเอาการติดต่อสื่งสารข้อมูลประเภทต่างๆ
    27. Spam mail E-mail ที่ถูกส่งมายังผู้รับ
    28. Search Engine เครื่องมือช่วยในการค้นหา web site ต่างๆ บน Internet เช่น web google
    29. URL ungue resouree loca tor ชื่อของคอมพิวเตอร์ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสาร
    30. Wan wide area net work ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่
    31. Upload วิธีการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ

    วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ Windows servers 2003

    1.โปรแกรมที่สามารถทำงานเป็น Mail Server ข้อใดต่อไปนี้ผิด
    a. SMTP service
    b. SMTP Virtual Server
    c. POP3 Service
    d. Service

    ตอบ d. Service

    2.Windows Server 2003 x64 Editions คือ
    a. ทำงานร่วมกับโพรเซสเซอร์ x64
    b. การประมวลผลแบบ 64
    c. ข้อ b.ถูก
    d. ถูกทั้งข้อ a. และ ข้อ b.

    ตอบ d. ถูกทั้งข้อa. และ ข้อ b.

    3.RAM ควรมีขนาดเริ่มต้นเท่าใด สำหรับ Windows server 2003
    a. 128 mb
    b. 256 mb
    c. 512 mb
    d. 1 Gb

    ตอบ a.128 mb

    4. ข้อใดคือ ชื่อย่อเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ Windows server 2003
    a. IIS
    b. SSI
    c. ISS
    d. ถูกทุกข้อ

    ตอบ a. IIS

    5.Windows Server 2003 R2 ทำขึ้นเพื่อ
    a.การทำงานน้อยลงประสิทธิภาพมากขึ้น
    b.การทำงานมากขึ้นประสิทธิภาพน้อยลง
    c.การทำงานมากขึ้นประสิทธิภาพมากขึ้น
    d.ไม่มีข้อใดถูก

    ตอบ a.การทำงานน้อยลงประสิทธิภาพมากขึ้น

    6 ถ้าเราติดตั้ง Windows server 2003 จากซีดีควรเลือกคำสั่งใดต่อไปนี้
    a. boot from CD drive
    b. boot from UHB drive
    c. ถูกทั้ง a. และ b.
    d. ไม่มีข้อถูก

    ตอบ a. boot from CD drive

    7.ลักษณะเด่นของ Windows server 2003
    a. มีความปลอดภัยสูง
    b. บริการ Virtual Disk Service
    c. ในการช่วยให้การจัดเก็บและสำรองข้อมูล สามารถทำได้ง่ายดาย สะดวกขึ้น
    d. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

    ตอบ d.ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

    8.VPN ย่อมาจากอะไร
    a. Virtual Private Network
    b. Public Network
    c. Virtual Private
    d. Systems Distribute File

    ตอบ a. Virtual Private Network

    9. DFN ย่อมาจากอะไรต่อไปนี้
    a. Distributed File System
    b. Distribute File Systems
    c. Systems Distribute File
    d. ไม่มีข้อถูก

    ตอย a. Distributed File System

    10.Terminal Services มีประโยชน์อย่างไร
    a. เพื่อรันโปรแกม
    b. เพื่อรันแอพพลิเคชั่น
    c.รักษาความปลอดภัย
    d. ถูกทุกข้อ

    ตอบ b.เพื่อรันแอพพลิแคชั่น

    วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

    ข้อสอบ ระบบเครือข่าย

    1.ตามขนาดของระบบ LAN แบ่งเป็น
    a. 1
    b. 2
    c. 3
    d. 4
    ตอบ d. 4

    2.ลักษณะการทำงาน: แบ่งเป็น
    a. peer-to-peer และ client-server
    b. peer-to-peer
    c. client-server
    d. baseband
    ตอบ a. peer-to-peer และ client-server

    3.LAN แบ่งลักษณะการทำงานได้เป็นกี่ประเภท
    a. 1
    b. 2
    c. 3
    d. 4
    ตอบ b. 2

    4.การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายมีกี่แบบ
    a. 1
    b. 2
    c. 3
    d. 4
    ตอบ c. 3

    5.ตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหย่างอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งลักษณะของตัวกลาง กี่แบบ
    a. 2
    b. 3
    c. 4
    d. 5
    ตอบ b. 3

    6.ข้อใดเป็นวิธีการกำหนดให้มีการส่งและรับข้อมูลด้วยอัตราคงที่
    a. AAL1
    b. AAL2
    c. AAL3 / 4
    d. AAL5
    ตอบ a. AAL1
    7.เครือข่ายอย่างง่ายที่สุดของ ATM ประกอบด้วยชิ้นส่วนเครือข่ายอะไรบ้าง
    a.ATM Switch
    b. ATM end point
    c. ถูกเฉพาะข้อ a
    d. ถูกทั้ง a และ b
    ตอบ d. ถูกทั้ง a และ b

    8.เครือข่าย ATM ใช้อะไรเป็นมาตรฐาน
    a.สัญญาณคลื่นวิทยุ
    b. คลื่นไฟฟ้า
    c. โปรโตคอล
    d. สัญญาณคลื่นแม่เหล็ก
    ตอบ c. โปรโตคอล

    9. ระบบเครือข่าย ATM เป็นระบบแบบใด
    a.ระบบไร้สาย
    b.ระบบเคลื่อนที่
    c. ระบบเปิด ปิด
    d. ระบบแบบสวิตซ์
    ตอบ d. ระบบแบบสวิตซ์

    10.HEC (Header Error Check) ทำหน้าที่อะไร
    a. สำรวจข้อมูล
    b. จัดเก็บข้อมูล
    c. ตรวจสอบข้อมูล
    d. จัดส่งข้อมูล
    ตอบ c. ตรวจสอบข้อมูล

    ข้อสอบ IP Address

    1. คำว่า IP ย่อมาจาก
    a. International Protocol
    b. Internet Protocol
    c. introduck Protocol
    d. ไม่มีข้อใดถูก
    ตอบ b. Internet Protocol

    2. TCP/IP ย่อมาจากอะไร
    a. Transmitsion Control Protocol/International Protocol
    b. Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol
    c. Transmitsion Control Protocol/introduck Protocol
    d. ไม่มีข้อใดถูก
    ตอบ b. Transmitsion Control Protocol/Internet Protocol

    3. protocol หลักของ Internet ก็คือ
    a. TCP/IP
    b. TCD/IP
    c. IPP
    d. OOP/IP
    ตอบ a. TCP/IP

    4. โครงสร้าง TCP/IP มีกี่ชั้น
    a. 1 ชั้น
    b. 2 ชั้น
    c. 3 ชั้น
    d. 4 ชั้น
    ตอบ d. 4 ชั้น

    5. โปรโตคอลได้รับการพัฒนาซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่ายที่ชื่อว่าอะไร
    a. TCP/IP
    b. DEMULTIPLEXING
    c. ARPANET
    d. VLSM
    ตอบ c. ARPANET

    6. subnet mask 130.5.5.25 สามารถแสดงเป็นเลขฐานสองได้เท่าใด
    a. 10000010.00000101.00000101.00011001
    b. 10000010.00000101.00000101.00001101
    c. 10000010.00000101.00000101.00010001
    d. 10000010.00000101.00000101.00011000
    ตอบ a. 10000010.00000101.00000101.00011001

    7. network address จะอยู่ในช่วง 1~126 ส่วน default Subnet Mask มีค่าเท่าใด
    a. 255.0.0.0
    b. 255.255.0.0
    c. 255.255.255.0
    d. 255.255.255.255
    ตอบ a. 255.0.0.0

    8. mark 6 bit ได้ class A หมายเลข subnetmark คือ
    a. =255.255.0.0
    b. =255.255.192.0
    c. =255.255.255.0
    d. =255.255.192.255
    ตอบ b. =255.255.192.0

    9. mark 3 bit ได้ class A ได้กี่ subnet
    a. = 2 ^3 =8-2 =6 subnet
    b. =2 ^4 =16-2 =14 subnet
    c. =2 ^ 5=32-2 =30 subnet
    d. =2 ^6 =64-2 =62 subnet
    ตอบ a. = 2 ^3 =8-2 =6 subnet

    10. CLASS C ได้แก่
    a. = N .N.N.N
    b. = N .N.H.H
    c. = N .N.N.H
    d. = N .H.H.H
    ตอบ c. = N .N.N.H

    ข้อสอบ ระบบปฏิบัติการ Unix

    1.คำสั่งใดใน UNIX ที่ใช้ยกเลิกโปรแกรมที่กำลังประมวลผล
    a. คำสั่ง rm
    b. คำสั่ง kill
    c. คำสั่ง cd
    d. คำสั่ง clear

    2.คำสั่งใดที่ UNIX ที่ใช้ล้างจอภาพ
    a. คำสั่ง rm
    b. คำสั่ง clear
    c. คำสั่ง talk
    d. คำสั่ง kill

    3. คำสั่งใดใน UNIX ที่ใช้แสดงรายชื่อผู้ใช้ทั้งหมดที่กำลัง login ในระบบ
    a. คำสั่ง finger
    b. คำสั่ง man
    c. คำสั่ง wan
    d. คำสั่ง pwd

    4.คำสั่ง Is เป็นคำสั่งในระบบ Unix คือคำสั่งอะไร
    a. แสดงข้อความออกทางจอภาพ
    b. ค้นหารูปแบบอักขระในแฟ้ม
    c. แสดงรายชื่อแฟ้มในห้องปัจจุบัน
    d. ผิดทุกข้อ

    5.ใครเป็นผู้กำหนดชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านการเข้าระบบ Unix
    a. ผู้เขียนโปรแกรมระบบ
    b. กลุ่มผู้ใช้ระบบ
    c. ผู้บริหารระบบ
    d. ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ

    6. คำสั่ง talk ใน UNIX ใช้สำหรับทำอะไร
    a. ขอสนทนากับผู้ใช้คนอื่น
    b. ล้างจอภาพ
    c. ลบข้อมูล
    d. หยุดการทำงาน

    7.ตัวดำเนินการร่วมใน Unix ตัวใช้มีความหมายที่หมายถึง "และ"
    a. ++
    b. ##
    c. ;;
    d. &&.

    8.คำสั่งในการสร้างในระบบยูนิกซ์คือข้อใด
    a. คำสั่ง cw
    b. คำสั่ง kill
    c. คำสั่ง rm
    d. คำสั่ง vi

    9.OS ในข้อใดต่างจากพวก
    a. System V
    b. OS/2
    c. Minix
    d.Unix

    10.Shell ในข้อใดต่างจากพวก
    a. bash
    b. csh
    c. ksh
    d. command.com



    เฉลย
    ข้อ
    1. ตอบ ( b )
    2. ตอบ (b)
    3. ตอบ (a)
    4 .ตอบ (d)
    5. ตอบ (c)
    6. ตอบ (c)
    7. ตอบ (a)
    8. ตอบ (d)
    9. ตอบ (b)
    10.ตอบ (d)

    วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

    IP Address

    IP Address
    เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก เช่นเครื่อง einstein ซึ่งเป็น Internet Server ของภาควิชาฟิสิกส์ มี IP Address เป็น 202.28.156.98 ตัวเลขที่เป็น IP Address เป็นตัวเลขขนาด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ชุดๆ ละ 8 บิต ดังนั้นตัวเลข 1 ชุดที่เราเห็นคั่นด้วยจุดนั้น จึงแทนได้ด้วยตัวเลขจาก 0 ถึง 255
    ตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ network number และ ส่วนของ host number โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเน็ตเวอร์ค class ใด ซึ่ง class ของเน็คเวอร์คแบ่งออกเป็น 4 classes ดังนี้

    Class A เป็นเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่ มี network number ตั้งแต่ 1.0.0.0 ถึง 127.0.0.0 นั่นคือใน class นี้นั้น จะมีส่วนของ host number ถึง 24 บิตซึ่งอนุญาตให้มีจำนวนเครื่องได้ 1.6 ล้านเครื่องใน 1 เน็ตเวอร์ค ซึ่งจะมีเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่แบบนี้ได้เพียง 127 เน็ตเวอร์คเท่านั้น

    Class B เป็นเน็ตเวอร์คขนาดกลาง มี network number ตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.0.0 นั่นคือใน class นี้มีส่วนของ network number 16 บิต และส่วนของ host number ได้ 16 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 16320 เน็ตเวอร์ค และ 65024 hosts

    Class C เป็นเน็ตเวอร์คขนาดเล็ก มี network number ตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.0 นั่นคือใน Class นี้มีส่วนของ network number 24 บิต และ ส่วนของ host number 8 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 2 ล้านเน็ตเวอร์คและมีจำนวน host ในแต่ละเน็ตเวอร์คเท่ากับ 254 hosts

    Class D เป็นส่วนที่เก็บรักษาไว้สำหรับใช้ในอนาคต มี IP Address ตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 254.0.0.0

    Domain Name System (DNS)
    เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต เราก็จะใช้ชื่อ DNS เช่น www.nectec.or.th แต่ในการใช้งานจริงนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ เมื่อรับคำสั่งจากเราแล้ว เค้าจะขอ (request) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการบอกเลขหมาย IP Address (ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ Yellow Pages) ซึ่งเรียกกันว่าเป็น DNS Server หรือ Name Server ตัว Name Server เมื่อได้รับ request ก็จะตอบเลขหมาย IP Address กลับมาให้เช่น สำหรับ www.nectec.or.th นั้นจะตอบกลับมาเป็น 164.115.115.9 จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจึงจะเริ่มทำการติดต่อ กับคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งมันก็จะผ่านกระบวนการแบบที่กล่าวไปข้างต้น คือแบ่งข้อมูลออกเป็น packet จ่าหัวด้วย IP จากนั้นส่ง packet ไปซึ่งก็จะวิ่งผ่าน gateway ต่างๆ มากมายไปยังเป้าหมาย

    บางทีเราจะพบกรณีที่คอมพิวเตอร์ที่เป็น Name Server นั้นไม่ทำงาน เราจะไม่สามารถติดต่อเครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตได้อีกต่อไปโดยใช้ชื่อ DNS หากเราทราบ IP Address เราสามารถใช้ IP Address ได้ตรงๆ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องพึ่งสมุดโทรศัพท์ของ Name Server ด้วยเหตุนี้เราจึงทำการเก็บชื่อและ IP Address ไว้ในสมุดโทรศัพท์ส่วนตัวประจำเครื่อง เช่นบนระบบยูนิกซ์มีไฟล์ /etc/hosts เอาไว้เก็บชื่อ DNS ที่ใช้บ่อยๆ

    ระบบการตั้งชื่อ DNS นั้นคล้ายกับระบบไปรษณีย์ โดยมีประเทศอยู่หลังสุด เช่น .th คือ ประเทศไทย .de คือประเทศเยอรมัน .uk คือ ประเทศสหราชอาณาจักร แต่สำหรับสหรัฐอเมริกานั้นยกเว้น จากนั้นจะแบ่งเครือข่ายออกเป็น
    - edu หรือ .ac เครือข่ายมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษา
    - com หรือ .co เครือข่ายบริษัท ห้างร้าน
    - mil เครือข่ายทางการทหาร
    - org หรือ .or เครือข่ายองค์การที่ไม่หวังผลกำไร (พรรคการเมืองไทยก็ใช้ระบบนี้)
    - gov หรือ .go เครือข่ายหน่วยงานของรัฐบาล
    - net หรือ .net เครือข่ายของผู้ดูแลเน็ตเวอร์ค หรือ เจ้าของเน็ตเวอร์ค

    สิ่งที่ต้องทราบในการต่อเครื่องเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต

    1. IP Address ของ เครื่องนั้น ยกเว้นเราใช้ Automatic Setting โดย bootp Server หรือ Server อื่นๆ จะกำหนดให้โดยการร้องขอ ซึ่ง IP Address นั้นอาจไม่เหมือนกันในแต่ละครั้งทีเปิดใช้
    2. IP Address ของ Gateway
    3. IP Address ของ Name Server
    4. Network Address หรือ Subnet Mask เพื่อให้ทราบว่าเน็ตเวอร์คของเรามีความกว้างของเลข IP เท่าใด เพื่อกำหนดการติดต่อว่าจะติดต่อภายในเน็ตเวอร์คเดียวกัน หรือ นอกเน็ตเวอร์ค

    SLIP และ PPP
    เราคงเคยได้ยินคำ 2 คำนี้มาบ้าง โดยเฉพาะเมื่อต้องการต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน MODEM และสายโทรศัพท์ โดยปรกติแล้ว TCP/IP นั้นเปรียบเสมือนรถบรรทุกสินค้าที่ใช้ขนข้อมูลในรูป packet ไปยังที่ต่างๆ ซึ่งรถบรรทุกนั้นสามารถวิ่งบนถนนทั้งแบบลาดยาง แบบคอนกรีต หรือแบบลูกรัง ในสภาวะที่เป็น LAN นั้น TCP/IP วิ่งอยู่บน Frame ที่เป็น Ethernet ซึ่งมารองพื้น เปรียบเสมือนถนนให้รถบรรทุกวิ่งบนสายโทรศัพท์ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีระบบที่มารองพื้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถวิ่งได้ ตัว Protocol ที่ใช้ก็จะมีความแตกต่างจาก Ethernet เพราะคนละ medium กัน ซึ่งก็มีอยู่ 2 แบบ คือ Serial Line Internet Protocol (SLIP) และ Point to Point Protocol (PPP) ตัวโปรโตคอลทั้ง 2 นี่คล้ายกัน เพียงแต่ SLIP เกิดจากการทดลองแล้วพัฒนามาเป็น PPP ซึ่งมีมาตรฐานกว่า การต่อ Windows 95 เข้ากับอินเตอร์เน็ตนี่ สามารถต่อได้ทั้งเข้ากับ LAN โดยใช้ Network Card และต่อแบบ Dial-Up ซึ่ง Windows 95 ก็มี PPP ให้ใช้อยู่แล้ว หรือจะต่อทั้ง 2 อย่างในขณะเดียวกันก็ได้ ซึ่งเครื่องสามารถแยกแยะได้ว่าหากเราใช้ LAN ก็จะให้ packet เดินผ่าน Network Card แต่หากติดต่อข้างนอก ก็จะผ่าน MODEM แทน ซึ่งผมก็ใช้งานแบบนี้อยู่ ค่อนข้างดีไม่มีปัญหา

    World Wide Web (WWW) หรือ WEB
    การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบัน จุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน

    ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิดได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทางกราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการของ WEB

    ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมทสินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า (Customer Supports & Customer Services) การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิงพาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่านเพื่อพัฒนาตลาด (Seeding the Market) ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโตในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE ได้ทำการแจก Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้จากการบริการใหม่อื่น ๆ ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่พอ หรือมี economy of scale สำหรับการดำเนินกิจกรรมพาณิชย์เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณาเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกากำลังมีความตื่นตัวในการใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic or Digital Money) ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนธนบัตรกระดาษ สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ตได้ทันที มีการคาดการณ์กันว่าเงินตราอิเล็กทรอนิกส์จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก และจะก่อให้เกิดการปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของธุรกิจทั่วโลกหลังปี ค.ศ. 2000 นี้

    Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Hypertext Markup Language (HTML)
    จะว่าไปแล้ว HTTP กับ HTML นั้นก็เหมือนกาแฟกับคอฟฟี่เมท โดย HTTP คือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่าง client computer กับ server computer ทำให้ทั้งสองเครื่องรู้ว่าจะจัดการส่งข้อมูลไปอย่างไร ส่วน HTML คือสื่อภาษาที่ทำให้เอกสารหรือ contents ที่อยู่บนเครื่อง server computer เมื่อถูกส่งมาที่ client computer แล้วจะนำไปแสดงได้อย่างไร เราเรียกซอฟท์แวร์ที่ใช้แสดงนี้ว่า Browser

    ข้อดีของการแยกชั้นการทำงานระหว่าง HTTP กับ HTML

    1. Contents
    - พัฒนาบนเครื่องแบบใดก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray etc. มีเครื่องมือช่วยในการพัฒนามากมาย

    2. Web Server
    - เครื่องที่ใช้เป็น Web Server เป็นเครื่องใดๆ ก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray ในแต่ละ Platform มี โปรแกรม Web Server ให้เลือกมากมาย
    3. Client Computer
    - เครื่องที่ใช้เป็น Client Computer เป็นเครื่องใดๆ ก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray, TV with Set-Top Box, Pen Computer etc.

    4. Browser
    - โปรแกรม Browser มีให้เลือกใช้มากมายบน PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray, TV with Set-Top Box, Pen Computer etc.