วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

IP Address

IP Address
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่บนอินเตอร์เน็ตก็เปรียบคล้ายๆ กับเครื่องโทรศัพท์ที่มีเบอร์เฉพาะตัว ซึ่งก็จะมีเพียงเบอร์เดียวในโลก เช่นเครื่อง einstein ซึ่งเป็น Internet Server ของภาควิชาฟิสิกส์ มี IP Address เป็น 202.28.156.98 ตัวเลขที่เป็น IP Address เป็นตัวเลขขนาด 32 บิต แบ่งออกเป็น 4 ชุดๆ ละ 8 บิต ดังนั้นตัวเลข 1 ชุดที่เราเห็นคั่นด้วยจุดนั้น จึงแทนได้ด้วยตัวเลขจาก 0 ถึง 255
ตัวเลข 4 ชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ network number และ ส่วนของ host number โดยขนาดของแต่ละส่วนจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นอยู่ในเน็ตเวอร์ค class ใด ซึ่ง class ของเน็คเวอร์คแบ่งออกเป็น 4 classes ดังนี้

Class A เป็นเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่ มี network number ตั้งแต่ 1.0.0.0 ถึง 127.0.0.0 นั่นคือใน class นี้นั้น จะมีส่วนของ host number ถึง 24 บิตซึ่งอนุญาตให้มีจำนวนเครื่องได้ 1.6 ล้านเครื่องใน 1 เน็ตเวอร์ค ซึ่งจะมีเน็ตเวอร์คขนาดใหญ่แบบนี้ได้เพียง 127 เน็ตเวอร์คเท่านั้น

Class B เป็นเน็ตเวอร์คขนาดกลาง มี network number ตั้งแต่ 128.0.0.0 ถึง 191.255.0.0 นั่นคือใน class นี้มีส่วนของ network number 16 บิต และส่วนของ host number ได้ 16 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 16320 เน็ตเวอร์ค และ 65024 hosts

Class C เป็นเน็ตเวอร์คขนาดเล็ก มี network number ตั้งแต่ 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.0 นั่นคือใน Class นี้มีส่วนของ network number 24 บิต และ ส่วนของ host number 8 บิต ทำให้มีจำนวนของเน็ตเวอร์คได้ถึง 2 ล้านเน็ตเวอร์คและมีจำนวน host ในแต่ละเน็ตเวอร์คเท่ากับ 254 hosts

Class D เป็นส่วนที่เก็บรักษาไว้สำหรับใช้ในอนาคต มี IP Address ตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 254.0.0.0

Domain Name System (DNS)
เบอร์ IP Address เป็นตัวเลขที่ใช้ไม่ค่อยสะดวกและจำยาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดระบบตั้งชื่อแบบที่เป็นตัวอักษร ให้มีความหมายเพื่อการจดจำได้ง่ายกว่ามาก เวลาเราอ้างถึงเครื่องใดบนอินเตอร์เน็ต เราก็จะใช้ชื่อ DNS เช่น www.nectec.or.th แต่ในการใช้งานจริงนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ เมื่อรับคำสั่งจากเราแล้ว เค้าจะขอ (request) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่บริการบอกเลขหมาย IP Address (ทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ Yellow Pages) ซึ่งเรียกกันว่าเป็น DNS Server หรือ Name Server ตัว Name Server เมื่อได้รับ request ก็จะตอบเลขหมาย IP Address กลับมาให้เช่น สำหรับ www.nectec.or.th นั้นจะตอบกลับมาเป็น 164.115.115.9 จากนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจึงจะเริ่มทำการติดต่อ กับคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งมันก็จะผ่านกระบวนการแบบที่กล่าวไปข้างต้น คือแบ่งข้อมูลออกเป็น packet จ่าหัวด้วย IP จากนั้นส่ง packet ไปซึ่งก็จะวิ่งผ่าน gateway ต่างๆ มากมายไปยังเป้าหมาย

บางทีเราจะพบกรณีที่คอมพิวเตอร์ที่เป็น Name Server นั้นไม่ทำงาน เราจะไม่สามารถติดต่อเครื่องอื่นบนอินเตอร์เน็ตได้อีกต่อไปโดยใช้ชื่อ DNS หากเราทราบ IP Address เราสามารถใช้ IP Address ได้ตรงๆ ทำให้เราไม่จำเป็นต้องพึ่งสมุดโทรศัพท์ของ Name Server ด้วยเหตุนี้เราจึงทำการเก็บชื่อและ IP Address ไว้ในสมุดโทรศัพท์ส่วนตัวประจำเครื่อง เช่นบนระบบยูนิกซ์มีไฟล์ /etc/hosts เอาไว้เก็บชื่อ DNS ที่ใช้บ่อยๆ

ระบบการตั้งชื่อ DNS นั้นคล้ายกับระบบไปรษณีย์ โดยมีประเทศอยู่หลังสุด เช่น .th คือ ประเทศไทย .de คือประเทศเยอรมัน .uk คือ ประเทศสหราชอาณาจักร แต่สำหรับสหรัฐอเมริกานั้นยกเว้น จากนั้นจะแบ่งเครือข่ายออกเป็น
- edu หรือ .ac เครือข่ายมหาวิทยาลัย หรือ สถาบันการศึกษา
- com หรือ .co เครือข่ายบริษัท ห้างร้าน
- mil เครือข่ายทางการทหาร
- org หรือ .or เครือข่ายองค์การที่ไม่หวังผลกำไร (พรรคการเมืองไทยก็ใช้ระบบนี้)
- gov หรือ .go เครือข่ายหน่วยงานของรัฐบาล
- net หรือ .net เครือข่ายของผู้ดูแลเน็ตเวอร์ค หรือ เจ้าของเน็ตเวอร์ค

สิ่งที่ต้องทราบในการต่อเครื่องเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต

1. IP Address ของ เครื่องนั้น ยกเว้นเราใช้ Automatic Setting โดย bootp Server หรือ Server อื่นๆ จะกำหนดให้โดยการร้องขอ ซึ่ง IP Address นั้นอาจไม่เหมือนกันในแต่ละครั้งทีเปิดใช้
2. IP Address ของ Gateway
3. IP Address ของ Name Server
4. Network Address หรือ Subnet Mask เพื่อให้ทราบว่าเน็ตเวอร์คของเรามีความกว้างของเลข IP เท่าใด เพื่อกำหนดการติดต่อว่าจะติดต่อภายในเน็ตเวอร์คเดียวกัน หรือ นอกเน็ตเวอร์ค

SLIP และ PPP
เราคงเคยได้ยินคำ 2 คำนี้มาบ้าง โดยเฉพาะเมื่อต้องการต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน MODEM และสายโทรศัพท์ โดยปรกติแล้ว TCP/IP นั้นเปรียบเสมือนรถบรรทุกสินค้าที่ใช้ขนข้อมูลในรูป packet ไปยังที่ต่างๆ ซึ่งรถบรรทุกนั้นสามารถวิ่งบนถนนทั้งแบบลาดยาง แบบคอนกรีต หรือแบบลูกรัง ในสภาวะที่เป็น LAN นั้น TCP/IP วิ่งอยู่บน Frame ที่เป็น Ethernet ซึ่งมารองพื้น เปรียบเสมือนถนนให้รถบรรทุกวิ่งบนสายโทรศัพท์ก็เช่นเดียวกัน ต้องมีระบบที่มารองพื้นเพื่อให้ TCP/IP สามารถวิ่งได้ ตัว Protocol ที่ใช้ก็จะมีความแตกต่างจาก Ethernet เพราะคนละ medium กัน ซึ่งก็มีอยู่ 2 แบบ คือ Serial Line Internet Protocol (SLIP) และ Point to Point Protocol (PPP) ตัวโปรโตคอลทั้ง 2 นี่คล้ายกัน เพียงแต่ SLIP เกิดจากการทดลองแล้วพัฒนามาเป็น PPP ซึ่งมีมาตรฐานกว่า การต่อ Windows 95 เข้ากับอินเตอร์เน็ตนี่ สามารถต่อได้ทั้งเข้ากับ LAN โดยใช้ Network Card และต่อแบบ Dial-Up ซึ่ง Windows 95 ก็มี PPP ให้ใช้อยู่แล้ว หรือจะต่อทั้ง 2 อย่างในขณะเดียวกันก็ได้ ซึ่งเครื่องสามารถแยกแยะได้ว่าหากเราใช้ LAN ก็จะให้ packet เดินผ่าน Network Card แต่หากติดต่อข้างนอก ก็จะผ่าน MODEM แทน ซึ่งผมก็ใช้งานแบบนี้อยู่ ค่อนข้างดีไม่มีปัญหา

World Wide Web (WWW) หรือ WEB
การใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคแรก ๆ ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาวิจัย และการทหารเป็นหลัก ไม่ได้มีการใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางเหมือนในปัจจุบัน จุดเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 นักวิทยาศาสตร์แห่งศูนย์ค้นคว้าวิจัยทางฟิสิกส์ CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ระหว่างศูนย์ลูกข่ายที่ตั้งอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยอาศัยระบบอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เดิม เพียงแต่มีวิธีติดต่อผู้ใช้ (User-Interface) ที่ใช้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวอาศัยพื้นฐานการทำงานที่เรียกว่า Hypertext ที่สามารถเชื่อมโยงเอกสารที่อยู่หลาย ๆ แห่ง ซึ่งอาจอยู่บนคอมพิวเตอร์คนละเครื่องเข้าด้วยกันจนคล้ายกับว่ามีเอกสารอยู่ที่เดียว ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ถูกเรียกว่า HTML (HyperText Mark-up Language) ในเวลาต่อมาได้มีการเชื่อมโยงสื่ออื่น ๆ ที่ไม่ใช่เอกสารเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ฯลฯ จนเกิดเป็นลักษณะของ Hypermedia ขึ้น จากการที่ระบบดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเอกสารจากหลาย ๆ แห่งเข้าด้วยกัน มันจึงถูกขนานนามว่า World Wide Web (WWW) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า WEB ในปัจจุบัน

ด้วยสถาปัตยกรรมที่แยกเนื้อหา (Contents) กับส่วนเข้าถึงเนื้อหา (Browser) ออกจากกัน ทำให้ WEB ยังคงความเป็นระบบเปิดได้เหมือนอินเตอร์เน็ต กล่าวคือส่วนของ Browser สามารถแยกพัฒนาได้ต่างหากจากการพัฒนา Contents จึงทำให้มีความอิสระและความคล่องตัวสูง Browser ตัวแรกที่สั่นสะเทือนวงการมีชื่อว่า Mosaic นั้นมีความสามารถในการแสดงผลทางกราฟฟิกส์ รวมทั้งยังสามารถใช้งานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบและหลายรุ่น เป็นซอฟท์แวร์ที่หามาใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องเสียเงิน มีผลให้ WEB ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปลายปี 1994 มีการประเมินกันว่า 80 % ของการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต เป็นการใช้บริการของ WEB

ด้วยประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของ WEB ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนข้อมูลแบบอื่น ทำให้การใช้งานในเชิงพาณิชย์เริ่มเป็นผลนับแต่นั้น มีการประยุกต์ WEB เพื่อการค้าหลากหลายรูปแบบ เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การโปรโมทสินค้า การติดต่อคู่ค้า การบริการลูกค้า (Customer Supports & Customer Services) การซื้อขายและสั่งสินค้า การสำรวจและวิจัยตลาด การให้การศึกษาและให้ข้อมูลในตัวสินค้าต่อกลุ่มเป้าหมาย เป็นต้น ในช่วงเริ่มแรกนั้น การใช้งานในเชิงพาณิชย์มีลักษณะเป็นการหว่านเพื่อพัฒนาตลาด (Seeding the Market) ด้วยบริการที่ไม่คิดเงิน เพื่อที่จะทำให้ตลาดเติบโตในลักษณะ Spiral-Up คือเมื่อยิ่งมีผู้ใช้ก็ยิ่งมีบริการมากขึ้น เช่น บริษัท NETSCAPE ได้ทำการแจก Browser ฟรีไม่คิดเงินเพื่อให้คนใช้ WEB มาก ๆ เมื่อตลาดมีศักยภาพสูงขึ้นจึงค่อยหารายได้จากการบริการใหม่อื่น ๆ ในปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตมีขนาดใหญ่พอ หรือมี economy of scale สำหรับการดำเนินกิจกรรมพาณิชย์เต็มรูปแบบ ไม่ใช่เพียงเพื่อใช้เป็นสื่อโฆษณาเท่านั้น ในประเทศสหรัฐอเมริกากำลังมีความตื่นตัวในการใช้เงินตราอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic or Digital Money) ซึ่งจะถูกนำมาใช้แทนธนบัตรกระดาษ สามารถใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ตได้ทันที มีการคาดการณ์กันว่าเงินตราอิเล็กทรอนิกส์จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจทั่วโลก และจะก่อให้เกิดการปรับตัวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของธุรกิจทั่วโลกหลังปี ค.ศ. 2000 นี้

Hypertext Transfer Protocol (HTTP) และ Hypertext Markup Language (HTML)
จะว่าไปแล้ว HTTP กับ HTML นั้นก็เหมือนกาแฟกับคอฟฟี่เมท โดย HTTP คือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารระหว่าง client computer กับ server computer ทำให้ทั้งสองเครื่องรู้ว่าจะจัดการส่งข้อมูลไปอย่างไร ส่วน HTML คือสื่อภาษาที่ทำให้เอกสารหรือ contents ที่อยู่บนเครื่อง server computer เมื่อถูกส่งมาที่ client computer แล้วจะนำไปแสดงได้อย่างไร เราเรียกซอฟท์แวร์ที่ใช้แสดงนี้ว่า Browser

ข้อดีของการแยกชั้นการทำงานระหว่าง HTTP กับ HTML

1. Contents
- พัฒนาบนเครื่องแบบใดก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray etc. มีเครื่องมือช่วยในการพัฒนามากมาย

2. Web Server
- เครื่องที่ใช้เป็น Web Server เป็นเครื่องใดๆ ก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray ในแต่ละ Platform มี โปรแกรม Web Server ให้เลือกมากมาย
3. Client Computer
- เครื่องที่ใช้เป็น Client Computer เป็นเครื่องใดๆ ก็ได้ เช่น PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray, TV with Set-Top Box, Pen Computer etc.

4. Browser
- โปรแกรม Browser มีให้เลือกใช้มากมายบน PC, Macintosh, IBM, DEC, SUN, HP, SGI, Cray, TV with Set-Top Box, Pen Computer etc.

ระบบเครือข่าย

ประเภทของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อาจนิยามได้ 2 ประเภทคือ
1. เครือข่ายทางกายภาพ (Physical Networks) หมายถึงสายและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย อันได้แก่
- Ethernet Wiring ซึ่งมีการเชื่อมต่อได้หลายแบบ เช่น thick coaxial cable (10BASE5) แบบ thin coaxial cable
(10BASE2) และแบบ twisted pair (10BASE-T) หรือที่มักเรียกกันว่า UTP
- สายใยแก้วนำแสง Optical Fiber (FDDI)
- สายโทรศัพท์ทั้งแบบ Analog และ ISDN
- สายเคเบิลใต้มหาสมุทร
ซึ่ง Physical Networks ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่อแบบที่มองไม่เห็นด้วยอีกด้วย เช่น
- สัญญาณไมโครเวฟ
- สัญญาณดาวเทียม
- ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่
2. เครือข่ายเชิงตรรก (Logical Networks)เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายทางกายภาพ โดยความสัมพันธ์นั้นหมายถึง การทำงานร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง การมีจุดสนใจร่วมกัน การใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือกิจกรรมใดๆ ที่กำหนดให้มนุษย์มีส่วนร่วม (ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคอมพิวเตอร์) เช่น
- Internet
- SchoolNet
- GINET (Government Information Networks)
- UNINET (University Networks)
องค์ประกอบของระบบเครือข่าย
จะต้องมี 3 ประการนี้จึงจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนระบบเครือข่าย
- เครื่องคอมพิวเตอร์ PC / Macintosh
- เครื่องคอมพิวเตอร์เวอร์คสเตชัน
2. Physical Media หรือสื่อเชื่อมต่อทางกายภาพอันได้แก่ สาย (Cable) และ Hub หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ
3. ระเบียบพิธีการติดต่อสื่อสาร (Protocol) ก็คือระเบียบหรือข้อตกลง (rules) ที่ตั้งขึ้น เพื่อทำให้ผู้ที่จะสื่อสารกันเข้าใจกันและกัน ตัวอย่างเช่นสัญญาณ ธงที่ทหารเรือใช้สื่อสารกัน เป็นต้น
แบบของโปรโตคอล
1. Protocol ที่ใช้กับ Physical Networks ใช้ควบคุมสายเชื่อมต่อ บางทีเรียก Data Link เช่น
- Ethernet Protocol ใช้ควบคุมการเชื่อมต่อด้วย Ethernet Wiring
- FDDI ควบคุมการเชื่อมต่อแบบใยแก้วนำแสง
- SLIP/PPP ควบคุมการเชื่อมต่อด้วยสายโทรศัพท์
2. Protocol ที่ใช้กับ Logical Networks ใช้ควบคุมการสื่อสารบน Logical Networks เช่น
- TCP/IP ใช้กับการสื่อสารบนระบบอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต/เอ็กซ์ทราเน็ต
-IPX/SPX ใช้กับการสื่อสารบนเครือข่าย Novell Netware ของเครื่อง PC
- NETBEUI ใช้กับการสื่อสารของเครือข่าย Microsoft Network
- AppleTalk ใช้กับการสื่อสารระหว่างเครื่อง Apple Macintosh
LAN กับ Ethernetรูปแบบของ LAN
ในโลกนี้พอจะแบ่งออกได้เป็นระบบใหญ่ๆ ได้ 2 ระบบคือ Ethernet กับ Token Ring ระบบ Ethernet นั้นนิยมกันมากกว่าระบบ Token Ring มากๆ โดยระบบ Ethernet นั้นสามารถต่อได้ในแบบ Chain เรียกตามภาษาเทคนิคว่าแบบ 10Base-2 และ 10Base-5 กับแบบรูปดาว Star เรียกตามภาษาเทคนิคว่า 10Base-T เจ้าเลข 10 ข้างหน้านี้หมายความว่ามันสามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10 Mbps (10 Megabits per second) เลข 2 และ 5 ข้างท้ายบอกว่าสายที่ใช้ต่อ LAN ในวงเดียวกันยาวได้อย่างมาก 200 (จริงๆแล้ว 180) และ 500 เมตรตามลำดับ ส่วนตัว T แปลว่าสายที่ใช้เป็นแบบ Twisted Pair ซึ่งยาวได้ไม่เกิน 100 เมตร Token Ring คือ LAN ที่มีลักษณะต่อกันเป็นวงและมีตัวนำสารที่เรียกว่า Token วิ่งวนรอบๆ ไม่ค่อยมีใครเขาใช้กัน เพราะมีราคาแพงและต่อยาก เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาต่อกันในระบบ Ethernet นั้นจะต้องมี Ethernet Card ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณในเครือข่าย ซึ่งแต่ละ Card จะมีหมายเลข Ethernet Address เฉพาะตัว ระบบ Ethernet นี้เมื่อต่อกับ Internet แล้วเวลามีใครนอกเครือข่าย ติดต่อมาหาเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย Internet Address นั้น จะต้องถูกแปลงมาให้เป็น Ethernet Address ก่อนเพื่อการอ้างถึงให้ถูกว่าเป็นเครื่องใด โดยข้อมูลนั้นพร้อม Ethernet Address ปะไว้ที่หัวจะไหลผ่านเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เครื่องใดก็ตามเมื่อทราบว่าข้อมูลนั้นเป็นของตัวก็จะหยิบออกไปเอง จากการที่ข้อมูลนี้ไหลผ่าน Network Card ของทุกเครื่อง ทำให้สามารถดังฟังข้อมูลได้ใน LAN เดียวกัน สามารถอ่าน e-mail หรือ อ่านหน้าจอใครก็ได้บน LAN เดียวกัน
10Base-T เจ้าแห่ง LAN
ในแวดวงของระบบ Ethernet แล้ว 10Base-T ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะต่อง่าย บำรุงรักษาก็ง่าย หากมีเครื่องใดเครื่องหนึ่งก่อให้เกิดปัญหาแล้ว ก็ไม่เป็นการรบกวนเครื่องคอมพิวเตอร์ (node) อื่นเลย ต่างกับ 10Base-2 ซึ่งต่อกันเป็นแบบโซ่ หากจุดใดมีปัญหา จะทำให้ LAN ทั้งวงไม่ทำงาน การต่อ LAN แบบ 10Base-T จะมีอุปกรณ์เชื่อม ที่เรียกว่า Hub ในภาคฟิสิกส์เราตอนนี้รู้สึกจะมี 3 ตัวแล้ว ซึ่งแต่ละตัวต่อได้ 24 เครื่อง Hub นี้สามารถต่อกับเครือข่ายภายนอกโดยผ่าน Router ซึ่งภาคเรามีเครื่อง PC อยู่เครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็น Router ที่ Hub จะมี LED ที่แสดงว่าสายกำลังใช้งานอยู่หรือไม่
TCP/IP กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สื่อสารระหว่างกันโดยใช้ Transmission Control Protocol (TCP) และ Internet Protocol (IP) รวมเรียกว่า TCP/IP ข้อมูลที่ส่งจะถูกตัดออกเป็นส่วนๆ เรียก packet แล้วจ่าหน้าไปยังผู้รับด้วยการกำหนด IP Address เช่น สมมติเราส่ง e-mail ไปหาใครสักคน e-mail ของเราจะถูกตัดออกเป็น packet ขนาดเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งแต่ละอันจะจ่าหน้าถึงผู้รับเดียวกัน packets พวกนี้ก็จะวิ่งไปรวมกับ packets ของคนอื่นๆ ด้วย ทำให้ในสายของข้อมูล packets ของเราอาจจะไม่ได้เรียงติดกัน packets พวกนี้จะวิ่งผ่าน ชุมทาง (gateway) ต่างๆ โดยตัว gateway (อาจเรียก router) จะอ่านที่อยู่ที่จ่าหน้า แล้วจะบอกทิศทางที่ไปของแต่ละ packet ว่าจะวิ่งไปในทิศทางไหน packet ก็จะวิ่งไปตามทิศทางนั้น เมื่อไปถึง gateway ใหม่ก็จะถูกกำหนดเส้นทางให้วิ่งไปยัง gateway ใหม่ที่อยู่ถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง เช่นเราติดต่อกับเครื่องในอเมริกา อาจจะต้องผ่าน gateway ถึง 10 แห่ง เมื่อ packet วิ่งมาถึงปลายทางแล้ว เครื่องปลายทางก็จะเอา packets เหล่านั้นมาเก็บสะสมจนกว่าจะครบ จึงจะต่อกลับคืนให้เป็น e-mail การที่ข้อมูลมีลักษณะเป็น packet ทำให้ในสายสื่อสารสามารถที่จะ ขนส่งข้อมูลโดยไม่ต้องจอง (occupies) สายไว้สายจึงสามารถใช้ร่วมกันกับข้อมูลที่ส่งจากเครื่องอื่นได้ ต่างจากโทรศัพท์ที่ขณะใช้งาน จะไม่มีใครใช้สายได้ ดังตัวอย่างในรูปข้าล่างนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์ A และ C สื่อสารกันด้วย packet สีดำ ซึ่งใช้สายร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่ง packet ดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณเสียง (เช่น Internet Phone) ซึ่งเมื่อ packet เดินทางมาถึงก็จะถูกจับมารวมกันให้เป็นเสียงของการพูดคุย ไม่เหมือนโทรศัพท์แบบปรกติ ที่ขณะใช้งานสาย จะไม่สามารถนำไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

Windows Server 2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 (Windows Server 2003)
เป็นระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์จากไมโครซอฟท์ เป็นรุ่นที่ถัดจากวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2000 วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003 ได้ออกวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งนับเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Windows Server System
ภาพรวม
วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบปฏิบัติการแรกที่ออกมาหลังจากไมโครซอฟท์ประกาศแนวทาง Trustworthy Computing จึงเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องความปลอดภัย โดยเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก เช่นหลังจากการตั้งแต่ติดตั้งเสร็จนั้น ไม่มีส่วนประกอบเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดการใช้งานเพื่อลดช่องทางโจมตีตั้งแต่แรกเริ่ม และได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากใน IIS 6.0 โดยเกือบเขียนขึ้นมาใหม่หมด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยประสิทธิภาพการทำงานในปีพ.ศ. 2548 ไมโครซอฟท์ได้ประกาศ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ "ลองฮอร์น" ซึ่งจะเป็นรุ่นต่อจากวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 โดยมีกำหนดการที่จะออกครึ่งปีแรกใน พ.ศ. 2550วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ได้แบ่งเป็นรุ่นดังนี้
:-Windows Small Business Server 2003
-Windows Server 2003 Web Edition
-Windows Server 2003 Standard Edition
-Windows Server 2003 Enterprise Edition
-Windows Server 2003 Datacenter Edition
-Windows Compute Cluster Server 2003

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

ประวัติและที่มาของ ubuntu

เกี่ยวกับ Ubuntu
ขอขอบพระคุณที่ได้กรุณาให้ความสนใจในอูบันตู รุ่น 6.06(Ubuntu 6.06 LTS) Dapper Drake release.
Ubuntu เป็นระบบปฏิบัตการที่สร้างจากโอเพ่นซอสบนพื้นฐานของลีนุกซ์. กลุ่มนักพัฒนาของ Ubuntu ถือกำเนิดขึ้นมาจาก ปรัชญาของUbuntuที่ว่าซอฟแวร์ควรจะฟรี,สามารถใช้ภาษาของท้องถิ่นได้และไม่
กลุ่มนักพัฒนาของUbuntuจึงประกอบด้วย นักพัฒนา, โปรแกรมเมอร์, นักทดสอบ, นักวิชาการ, นักเขียนเอกสาร, นักแปลภาษา, และสำคัญอย่างยิ่งผู้ที่ใช้ Ubuntu
คุณสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ของ Ubuntu

ที่มาของชื่อ
คำว่า Ubuntu (อ่านว่า "อูบูนตู") มาจากภาษา Zulu และ Xhosa ในแอฟริกาใต้ เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับความจงรักภักดีและความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น แนวคิด Ubuntu เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการก่อตั้งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และเป็นแนวคิดที่สำคัญของแอฟริกายุคใหม่
การแปลความหมายอย่างหยาบๆ อาจแปลได้ว่า "มีมนุษยธรรมกับผู้อื่น" หรืออาจแปลว่า "จงเชื่อในความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับมนุษยชาติทั้งหมด" ก็ได้

"บุคคลใดที่มีอูบันตู (Ubuntu) จะยอมรับเห็นพ้องและพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ ไม่รู้สึกอิจฉาว่าคนอื่นจะดีกว่าและเก่งกว่าเพราะมีความมั่นใจบนพื้นฐานที่ว่า ได้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ดีงามและรู้สึกเศร้าโศกเสียใจเมื่อผู้อื่นถูกลบหลู่กดขี่ข่มเหง"
--พระราชาคณะ(Archbishop ) เดสมอน ทูทู
เพราะเป็นระบบที่ได้พื้นฐานมาจาก GNU/Linux,ระบบปฏิบัตการ Ubuntu จึงนำเจตนารมต์ของ Ubuntu ,มาให้โลกของซอฟแวร์(software world).

ฟรี ซอฟแวร์
โครงการ Ubuntu นั้นยึดถือแนวคิดของการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สอย่างจริงจัง เราส่งเสริมให้บุคคลใช้และต่อยอดการปรับปรุงซอฟต์แวร์ นั่นหมายความว่าคุณไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับ Ubuntu และรับประกันว่าจะเป็นเช่นนี้ตลอดไปในอนาคต
อย่างไรก็ตาม,มันมีความหมายมากกว่าไม่ต้องเสียเงิน.ปรัชญาของฟรีซอฟแวร์หมายความว่
ท่านสามารถศึกษาต่อเกี่ยวกับปรัชญาของฟรีซอฟแวร์ได้ที่นี่.

ความแตกต่าง
มีระบบปฏิบัตการมากมายที่มีพื้นฐานมาจาก GNU/Linux:ยกตัวอย่างเช่น Debian,
ใช้ Debian เป็นพื้นฐาน,Debian เป็น ระบบที่มีชื่อเสียงโดงดังในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี่และสบับสนุน,Ubuntu จึงมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบที่ทันสมัยและใช้ได้ดีสำหรับเดทส์ทอป์และเซิฟเวอร์. Ubuntu ประกอบด้วยชุดซอฟแวร์ที่ได้คัดสรรมาจาก Debian ดิสทีบิวชั่นและยังคงไว้ระบ
เมื่อให้ความสำคัญในด้านคุณภาพ, Ubuntu จึงเป็นระบบที่มีความมั่นคงและหลากหลายที่


บริการสนับสนุนระยะยาว
ทุกรุ่นของอูบันตูจะมีบริการดูแลอย่างน้อย 18 เดือนในด้านความปลอดภัยและปรับปรุงในด้านต่างๆ. สำหรับรุ่น อูบันตู6.06(Ubuntu 6.06 LTS) เป็นรุ่นพิเศษสำหรับพร้อมใช้ในองค์กรธุระกิจ และ จะมีบริการนาน 3 ปีสำหรับเดสก์ท็อป และ 5 ปีสำหรับเซริฟเวอร์. กระบวนการพัฒนาสำหรับรุ่นนี้จึงยาวนานกว่าปกติเพื่อที่มุ่งเน้นในด้านต่างๆดังนี้:
ประกันคุณภาพภาพ
ใช้ภาษาท้องถิ่น
ประกาศนียบัตร
ดังนั้น, รุ่นอูบันตู 6.06 (Ubuntu 6.06 LTS) จึงสามารถนำไปใช้งานได้ยาวนานกว่าปกติ. รุ่นนี้จึงได้ชื่อว่า "LTS" or "Long-Term Support" (บริการดูแลระยะยาว).

เดสท์ทอป
ชุดเดสท์ทอปได้ถูกกำหนดให้ใช้
อึกผู้นำในด้านโปรแกรมพื้นฐานและพัฒนาของ ยูนิกซ์ และ ลีนุกซ์ได้แก่KDE. โครงการ Kubuntuนี้ทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกนอกเหนือจาก GNOME ที่ถูกกำหนดไว้. ต้องขอขอบคุณกลุ่ม Kubuntu ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งและใช้

รุ่นและฉบับที่
การกำหนดหมายเลขรุ่นของอูบันตูมาจากวันที่กำหนดการปล่อยชุดเผยแพร่นั้น. หมายเลขของรุ่นมาจากปีและเดือนของวันที่ปล่อยสู่สาธารณแทนที่จะมาจากรุ่นของซอฟแวร์.รุ่นแรก (Warty Warthog)ซึ่งออกมาเดือนตุลาคม 2004 หมายเลขรุ่นจึงเป็น 4.10. รุ่นใหม่นี้ (Dapper Drake) ปล่อยออกเดือน มิถุนายน 2006 หมานเลขรุ่นจึงเป็น 6.06 LTS.

สนับสนุนและบริการ
โครงการ Ubuntu นั้นดูแลโดยชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Canonical Ltd. ของ Mark Shuttleworth บริษัท Canonical จ้างทีมงานหลักของ Ubuntu และให้บริการสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Ubuntu
บริษัท Canonical ได้ส่งเสริมสนับสนุนหลายโครงการของโอเพนซอส, หารายละเอียดเพื่มเติมได้ที่เว็บไซด์ของ Canonical


ลีนุกซ์คืออะไร
เคอร์เนล ลีนุกซ์ เป็นแกนหลักของระบบปฏิบัติการ Ubuntu โดยเคอร์เนลถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของระบบปฏิบัติการใดๆ ก็ตาม เคอร์เนลมีหน้าที่ประสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
Linux ถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อ ค.ศ.​1991 โดยนักศึกษาชาวฟินแลนด์ชื่อว่า Linus Torvalds โดยในช่วงเริ่มแรกเป็นการเลียนแบบเคอร์เนลของ UNIX และทำงานได้บนสถาปัตยกรรม i386 เท่านั้น
แต่ปัจจุบันนี้ ด้วยความอุตสาหะของนักพัฒนาทั่วโลก ทำให้ Linux สามารถทำงานได้บนสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่เกือบทุกชนิด
เคอร์เนล Linux ให้ความสำคัญกับแนวคิดของซอฟต์แวร์เสรีพอๆ กับด้านเทคนิก โดยผลงานทั้งหมดเป็นฝีมือของกลุ่มคนที่เชื่อในแนวคิดของซอฟต์แวร์เสรี และใช้เวลาว่างจากการทำงานช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีโอเพนซอร์สให้ดีที่สุดที่เป็นไปได้
กลุ่มคนเหล่านี้ได้ริเริ่มโครงการอย่าง Ubuntu, Mozilla Firefox และโครงการซอฟต์แวร์อื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่คุณต้องเคยสัมผัสและใช้งานมาบ้างไม่มากก็น้อย
จิตวิญญาณของโอเพนซอร์ส โดยเฉพาะ Linux ได้มีอิทธิพลต่อนักพัฒนาและผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีแนวคิดร่วมกันจนเกิดเป็นชุมชนของโอเพนซอร์ส

GNU คืออะไร
โครงการ GNU Project,จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1984 เพื่อที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการ Unix ที่ประกอบด้วยฟรีซอฟแวร์, ระบบ GNU. ระบบต่างๆที่ใช้พื้นฐานของระบบปฏิบัติการ GNUที่ใช้ลีนุกซ์เป็นแกนหลักตอนนี้มีใช้กันแพร่หลาย.ระบบเหล่านั้นจึงถูกเรียกว่าลีนุกซ์แต่ชื่อที่ถูกต้องควรจะเป็น GNU/Linux.